TNN ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”

TNN

การเมือง

ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”

ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “ครม.เศรษฐา 1” จับตาแถลงนโยบายเดินหน้าบริหารประเทศต่อรัฐสภา วันที่ 8 ก.ย 2566 ก่อนจะประชุม ครม.นัดแรกวันที่ 12 ก.ย.2566 ปิดฉาก รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา.”

ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้นำ 35 รายชื่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขึ้นทูลเกล้าฯ เรียบร้อยแล้ว หลังมีการส่งรายชื่อว่าที่รัฐมนตรีบางส่วน ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งหากกระบวนการทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ภายในสัปดาห์นี้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้วางไทม์ไลน์ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในวันที่ 8 ก.ย. 2566  และจะประชุม ครม.นัดแรก ในวันที่ 12 ก.ย.2566 ถือเป็นการปิดฉากการบริหารประเทศของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไปดูไทม์ไลน์ทางการเมืองของไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก “รัฐบาลลุงตู่”...สู่ “รัฐบาลพี่นิด” 

วันที่ 14 พ.ค.2566 ประเทศไทยจัดการเลือกตั้ง ทั่วไป เป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคก้าวไกล คว้าชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้จำนวน สส.มากเป็นอันดับ 1 ขณะที่พรรคเพื่อไทยมาเป็นอันดับ 2 จากนั้นเราได้เห็นความพยายามในการขับเคลื่อนจัดตั้ง “รัฐบาล 8 พรรคการเมือง 312 เสียง” โดยมีพรรคก้าวไกล เป็นแกนนำ พร้อมกับการจัดทำ MOU และเสนอชื่อ “พิธา  ลิ้มเจริญรัตน์”  แคนดิเดคตเพียง 1 เดียว ของพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 


วันที่ 13 ก.ค.2566  มีการประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี รอบแรก แต่เส้นทางจากรัฐสภาสู่ทำเนียบรัฐบาลของ 

“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”  ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากได้เสียงสนับสนุน 324 เสียง ซึ่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามที่ รัฐธรรมนูญกำหนด 


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


วันที่ 19 ก.ค.2566 ที่ประชุมรัฐสภานัดโหวตรอบ 2 แต่ก็จบลงตรงที่รัฐสภามีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่การเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 เป็นการเสนอ “ญัตติซ้ำ” ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 กลายเป็นข้อถกเถียงในแวดวงกฎหมายกันอย่างกว้างขวาง พร้อมกับการตั้งคำถามว่า ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ใหญ่กว่า รัฐธรรมนูญ หรือไม่…ไม่เพียงเท่านี้ “แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล” ยังถูกลงดาบซ้ำจากศาลรัฐธรรมนูญ ให้หยุดปฆิบัติหน้าที่ สส.ไปจนกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยคดีถือครองหุ้นสื่อไอทีวี


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


     ต่อมา พรรคก้าวไกล ประกาศถอยเพื่อเปิดทางให้ พรรคเพื่อไทย รับไม้ต่อเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ด้วยการแสวงหาเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม รวมถึงเสียงสนับสนุนจาก สว.จนเป็นที่มาของการเชิญแกนนำพรรคการเมืองต่างๆ เข้าหารือ ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ซึ่งก็ชัดเจนว่า แทบจะทุกพรรคการเมืองประกาศชัดไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล ทำให้บรรยากาศทางการเมือง เดินมาถึงจุดที่พรรคเพื่อไทย ประกาศถอนตัวออกจาก MOU 8 พรรคการเมือง หรือเรียกง่ายๆว่า “ฉีก MOU” 


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


    วันที่ 7 ส.ค.2566  พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย  แถลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลขั้วใหม่ โดยมีเสียงตั้งต้น จำนวน 212 เสียง  พร้อมกำหนดแนวทางในการจัดตั้งรัฐบาล โดยยึดวาระของประเทศ และประชาชนเป็นที่ตั้ง เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และประชาธิปไตย นำความปรองดอง สมานฉันท์กลับคืนสู่ประเทศจะเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการประชุมคณะรัฐมนตรีในวาระแรก จะมีมติให้ทำประชามติขอจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการจัดตั้ง สสร. และดำเนินงานการเมืองอย่างสร้างสรรค์ 


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


    วันที่ 21 ส.ค.2566 พรรคเพื่อไทย พร้อมแกนนำ 10 พรรค ร่วมกันแถลงจัดตั้ง “รัฐบาลสลายขั้ว” 11 พรรคการเมือง  314 เสียง ก่อนโหวต นายเศรษฐา  ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เพียง 1 วัน  ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย ,พรรคภูมิใจไทย, พรรคพลังประชารัฐ, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคประชาชาติ, พรรคชาติพัฒนากล้า, พรรคเพื่อไทรวมพลัง, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคพลังสังคมใหม่, พรรคท้องที่ไทย และพรรคใหม่ พร้อมย้ำจุดยืนรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย จะไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 และไม่มีพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาล  


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


วันที่ 22 ส.ค.2566 ผ่านการเลือกตั้งมา 100 วัน  ในที่สุดประเทศไทยก็มีนายกรัฐมนตรีคนที่ 360ชื่อ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจาก สส. และ สว.โดยที่ประชุมรัฐสภา มีมติ 482 ต่อ 165 เห็นชอบให้ “เศรษฐา ทวีสิน” เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในจำนวนนี้เป็นคะแนนจาก สว. ถึง 152 เสียง และยังมี สส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 16 เสียง “แหกมติพรรค” ร่วมโหวตสนันสนุนแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทยด้วย (พท.)


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


ย้อนไทม์ไลน์การเมืองไทย  กว่าจะได้ “ครม.เศรษฐา 1”


    วันที่ 1 ก.ย.2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วนั้น บัดนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง

นายภูมิธรรม เวชยชัย  เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน

นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายสุทิน คลังแสง เป็นรมว.กลาโหม

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็นรมช.คลัง

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรมช.คลัง

นายจักรพงษ์ แสงมณี เป็นรมช.ต่างประเทศ

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา

นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นรมว.อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรมว.เกษตรและสหกรณ์

นายไชยา พรหมา เป็นรมช.เกษตรและสหกรณ์

นายอนุชา นาคาศัย เป็นรมช.เกษตรและสหกรณ์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรมว.คมนาคม

นางมนพร เจริญศรี เป็นรมช.คมนาคม

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นรมช.คมนาคม

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคม

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นรมช.พาณิชย์

นายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นรมช.มหาดไทย

นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรมช.มหาดไทย

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นรมช.มหาดไทย

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นรมว.ยุติธรรม

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรมว.แรงงาน

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรมว.วัฒนธรรม

พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ เป็นรมว.ศึกษาธิการ

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็นรมช.ศึกษาธิการ

นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรมว.สาธารณสุข

นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรมช.สาธารณสุข

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นรมว.อุตสาหกรรม

..............................................................................................

เรียบเรียงโดย

ปุลญดา  บัวคณิศร

ข่าวแนะนำ