ส.ว.ประพันธ์ คูณมี ค้านเสนอชื่อ "พิธา" เป็นนายกฯ ชี้ขาดคุณสมบัติมีลักษณะต้องห้าม
ส.ว.ประพันธ์ คูณมี ชี้การเสนอชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 โดยชัดแจ้ง
เช็กคะแนนแบบเรียลไทม์ที่นี่ https://vote.tnnthailand.com/
ส.ว.ประพันธ์ คูณมี ชี้การเสนอชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 โดยชัดแจ้ง
เปิดฉากการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งสำคัญเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากประธานรัฐสภาเปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะให้ที่ประชุมพิจารณาให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ประชุมรัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นเสนอ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ชิงนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พร้อมเปิดโอกาสให้ สส.- สว.อภิปรายคุณสมบัติแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
ในการนี้ นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา ได้อภิปรายโดยมีใจความว่า วันนี้ เป็นวันที่มีความหมายและความสำคัญ เพราะเป็นวันที่สมาชิกรัฐสภาของเราจะได้ทำภารกิจสำคัญ นั่นก็คือ การพิจารณาได้รับการเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดในการบริหารประเทศ อันเป็นการดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ถือการประชุมครั้งที่ 2 หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นต้นมา แต่สิ่งที่จะอภิปรายขอเรียนท่านประธานว่า มันเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องกราบเรียนในฐานะสมาชิกรัฐสภาที่ต้องมาทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะพวกเรามีที่มาแตกต่างกันจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 114 ก็บัญญัติให้ถือว่า พวกเราทั้ง 2 ฝ่ายทั้ง สมาชิกผู้แทนราษฎร และ สว. ย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย
ไม่ว่าจะเป็นมาด้วยวิธีการใด แต่การทำหน้าที่นั้นจะต้องไม่อยู่ในการผูกมัดแห่งอานัญ มอบหมายหรือการครอบงำใดๆ และจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาใจของประชาชน และก่อนเข้าทำหน้าที่เราก็ต้องกล่าวคำปฏิญาณตนด้วยข้อความเดียวกัน ตามรัฐธรรมนูญ 115 ว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต เพื่อประเทศและประชาชน
พร้อมกันนี้ ส.ว.ประพันธ์ คูณมี กล่าวอีกว่า สิ่งที่ตนจะเสนอเป็นความเห็นโดยสุจริต โดยไม่มีอคติส่วนตัวใดๆแต่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯแต่อย่างใด ซึ่งการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่า เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 159 โดยชัดแจ้ง และขอคัดค้านการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี
โดยสาระสำคัญว่าวันนี้เราอยู่ในโหมดการใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 272 บทเฉพาะกาล ฉะนั้น ารเสนอชื่อแม้จะใช้มาตรา 272 ก็ตามแต่การเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ก็อยู่ในบทมาตรา 159 ที่บัญญัติให้สภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งได้รับเห็นควรแต่งตั้งให้เป็นนายกฯได้ แต่บุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 ซึ่งในมาตรา 160(6) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 ซึ่งมาตรา 98 มีระบุไว้หลายข้อโดยเฉพาะ (3) ต้องไม่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ
แต่เฉพาะกรณีของนายพิธา ที่ถูกเสนอชื่อมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติที่ขัดต่อมาตรา 160 และมาตรา 98(3) เมื่อเป็นเช่นนี้การเสนอชื่อของส.ว.ที่เสนอชื่อนายพิธา ขัดต่อข้อบังคับข้อที่ 136 จะเสนอชื่อบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ได้ จึงมีปัญหาว่าการเสนอชื่อบุคคลผู้นี้แล้วให้สภาฯ ให้ความเห็นชอบนั้น เป็นการเสนอชื่อบุคคลโดยชอบหรือเป็นการเสนอชื่อบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับหรือไม่
โดยคุณสมบัติของนายพิธาปรากฏชัดเจนเมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติและยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาสมาชิกภาพส.ส.ของนายพิธาได้สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98(3) ซึ่งศาลได้ลงรับหนังสือทางธุรการแล้ว อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจากข้อสงสัยที่นายพิธา เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม เรื่องนี้เป็นความเห็นที่ยุติโดย กกต. แต่ในชั้นพิจารณาจของสภาฯ แห่งนี้เรามีหน้าที่ต้องพิจารณาว่าการที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อนายพิธานั้น เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและขัดข้อบังคับหรือไม่
“เกาะติดเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30” ครั้งสำคัญของประเทศไทย
ติดตามผลโหวตคะแนนแบบเรียลไทม์ ได้วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมนี้
ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป
ทาง https://vote.tnnthailand.com หรือ สแกน QR Code
#โหวตนายก
#โหวตนายก2566
#โหวตนายก66
#นายกคนที่30
#เกาะติดเลือกนายกฯ
#เกาะติดเลือกนายกฯคนที่30