"ประธานสภา" มีหน้าที่-อำนาจอะไรบ้างในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เปิดรายละเอียด "ประธานสภา" มีหน้าที่และอำนาจอะไรบ้างในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เปิดรายละเอียด "ประธานสภา" มีหน้าที่และอำนาจอะไรบ้างในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ถือเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และเป็นผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทางด้านนิติบัญญัติและด้านอื่น ๆ จึงต้องมีผู้มีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานและการบริหารงานของรัฐสภา คือประธานรัฐสภามาจาก ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภามาจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภา คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน
เมื่อมีการประชุมร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะเป็นการประชุมรัฐสภาอันมีลักษณะเฉพาะ เช่น จำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นการประชุมรัฐสภา ซึ่งจำนวนสมาชิกรัฐสภามาจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน
ผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภามีจำนวน 2 คน คือประธานรัฐสภาจำนวน 1 คนและรองประธานรัฐสภาจำนวน 1 คน
ลักษณะของการประชุมต้องเป็นการประชุมรัฐสภาและต้องมีบทบัญญัติให้มีการประชุมในเรื่องนั้นไว้โดยเฉพาะจึงจะมีการประชุมรัฐสภาได้ตลอดจนต้องเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ เป็นอย่างยิ่งและจะไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเหมือนกับการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญของ สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา
ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พุทธศักราช 2563 ข้อที่ 5 ประธานรัฐสภา มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
- เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
- กำหนดการประชุมรัฐสภา
- ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
- รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภา ตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
- เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
- แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ ตาม (7)
- หน้าที่และอำนาจอื่น ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ข้อมูลจาก รัฐสภาไทย / สถาบันพระปกเกล้า
ภาพจาก Thaigov