TNN เปิดประวัติ "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" นักการเมืองคนสำคัญ-ได้รับเลือกเป็นประธานสภา

TNN

การเมือง

เปิดประวัติ "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" นักการเมืองคนสำคัญ-ได้รับเลือกเป็นประธานสภา

เปิดประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองคนสำคัญ-ได้รับเลือกเป็นประธานสภา

เปิดประวัติ "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" นักการเมืองคนสำคัญ-หัวหน้าพรรคประชาชาติ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

เปิดประวัติ "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" นักการเมืองคนสำคัญ-หัวหน้าพรรคประชาชาติ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 


นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ถูกเสนอชื่อโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล 

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเสนอชื่อ ไม่มีผู้ใดเสนอชื่อคนอื่นทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร


เปิดประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองคนสำคัญ-ได้รับเลือกเป็นประธานสภา


ประวัตินายวันมูหะมัดนอร์ มะทา 


สำหรับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองมุสลิม แกนนำกลุ่มวาดะห์ อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วันนอร์" 


นายวันมูหะมัดนอร์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นอดีต ส.ส. 9 สมัย เคยสังกัดพรรคประชาชน พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทย 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ 


เปิดประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองคนสำคัญ-ได้รับเลือกเป็นประธานสภา


การดำรงตำแหน่งทางการเมือง


- พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา สมัยแรกในสังกัดพรรคกิจสังคม

- พ.ศ. 2523 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

- พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

- พ.ศ. 2526 มีการยุบสภา ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

- พ.ศ. 2527 ได้ร่วมกับนายวีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้ง “กลุ่มเอกภาพ” (กลุ่มวาดะห์) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

- พ.ศ. 2531 ได้นำกลุ่มวาดะห์ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ “กลุ่ม 10 มกรา” ร่วมกันจัดตั้งพรรคประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

- พ.ศ. 2532 นำพรรคประชาชนยุบรวมกับพรรคก้าวหน้า พรรคกิจประชาคม และพรรครวมไทย เป็นพรรคเอกภาพ

- พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)

- พ.ศ. 2535 ได้นำกลุ่มวาดะห์ เข้าร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร สมัยที่ 4 (จากการเลือกตั้ง 2535/1) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 5 (จากการเลือกตั้ง 2535/2) รวมทั้งดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1

- พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (กำกับดูแล กรมที่ดิน) การเคหะแห่งชาติ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค)

- พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา สมัยที่ 6 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดูแลการแก้ไขปัญหาการจราจร

- พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 7 และได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร/ประธานรัฐสภา (24 พฤศจิกายน 2539 – 27 มิถุนายน 2543) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นมุสลิมคนแรกของประเทศที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้

- พ.ศ. 2540 วันที่ 11 ตุลาคม 2540 วันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ประธานรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้ทูลเกล้าถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นได้นำไปประกาศราชกิจจานุเบกษาในวันเดียวนั้น จึงมีผลให้รัฐธรรมนูญบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป

- พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 8 พรรคความหวังใหม่ และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

- พ.ศ. 2545 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย

- พ.ศ. 2547 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

- พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 9 

- พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ได้เข้าร่วมกับพรรคประชาชาติ และได้เป็นบุคคลที่พรรคประชาชาติจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 10 (แบบบัญชีรายชื่อ) ก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563

ทั้งนี้ วันมูหะมัดนอร์ยังคงเป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติเช่นเดิม 


เปิดประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองคนสำคัญ-ได้รับเลือกเป็นประธานสภา




ข้อมูลจาก สถาบันพระปกเกล้า

ภาพจาก พรรคประชาชาติ


ข่าวแนะนำ