เล่าเรื่องด้วยดาต้า (DATA Journalism) “บทสรุป โหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”
เล่าเรื่องด้วยดาต้า (DATA Journalism) “บทสรุป โหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” สรุปข้อมูลผ่านอุปกรณ์ Social Listeing , Social Moniroting เพื่อใช้ในการทำงานและรวบรวมข้อมูลข่าวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เล่าเรื่องด้วยดาต้า (DATA Journalism)
“บทสรุป โหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”
โดย ก้าวโรจน์ สุตาภักดี
สวัสดีครับวันนี้ผมมาเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฏาคม 2566 วันโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ในมุมการเล่าด้วย data (เล่าด้วยข้อมูลข่าว)และพูดถึงการใช้ดาต้าในการนำเสนอล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือว่า เกี่ยวกับ ความคิดเห็นของผมเองแต่อย่างใด
มาลุยกันเลย
Tools (อุปกรณ์) ในการเก็บดาต้าผมใช้ Zocial Eye ของ WiseSight
ผมได้ใช้ทูลตัวนี้ในการทำ Social Listeing , Social Moniroting เพื่อใช้ในการทำงาน แล้วมาใช้กับเหตุการณ์ “โหวตนายก”
ผมสร้างแคมเปญเพื่อเก็บดาต้าวันที่ 11 กรกฏาคม และปล่อยยาวไปเรื่อยๆ
สิ่งที่ผมกำหนดคือ 1. กำหนดคีย์เวิร์ด 2. กำหนดแพลตฟอร์มที่จะเก็บ 3. ช่วงระยะเวลาการเก็บ
และนี่คือสิ่งที่ผมได้
ข้อความที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ
ข้อความที่พบ 299,090 ข้อความ
เอนเกจเม้นท์ 42,456,973 ครั้ง
แอคเค้าท์ที่โพสท์ 93,664 แอคเค้าท์
คีย์เวิร์ดหลักที่เจอ 171,333 คำ
คีย์เวิร์ดรองที่1 คือ 6,288 คำ
คีย์เวิร์ดรองที่ 2 คือ 292,832 คำ
ข้อความที่จับได้ต่อวันคือ 9,970 ข้อความ
เฉลี่ย เอนเกจเม้นท์ต่อวันคือ 1,415,232 ครั้ง
การมอนิเตอร์ที่เกิดขึ้นพบว่าคีย์เวิร์ดที่ดักไว้มีการพูดถึงเยอะสุดคือ วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2566
จำนวนข้อความคือ 109,244 ข้อความ
PlatForm Twitter 95,160 ข้อความ
PlastForm Facebook 8,748 ข้อความ
PlatForm Youtube 4,036 ข้อความ
ช่วงเวลาที่พูดถึงหัวข้อนี้ หรือคีย์เวิร์ดนี้คือ
ช่วงระหว่างเวลา 16.00-18.00 หรือในระหว่างการโหวตนายกรัฐมนตรีนั่นเอง
ความหมายคือ คนที่การใช้สื่อในรูปแบบที่เป็น Interactive คือเป็นทั้งผู้รับสาร ผู้ส่งสาร และแน่นอน เป็นผู้นำส่งความคิดเห็นด้วยเช่นกัน
ส่วน Top Account ที่มี Engagement สูงสุดบน Facebook ได้แก่
อันดับ 1 ได้แก่
Pita Limjaroenrate-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ : สูงสุด 244,204 Like
อันดับ 2
เรื่องเล่าเช้านี้ : 113,106 Like
อันดับ 3
Thairath - ไทยรัตน์ ออนไลน์ : 100,455 Like
ส่วน Top Account ที่มี Engagement สูงสุดบน Twitter ได้แก่
อันดับ 1 Account eveminky__ : Retweet สูงสุด 76,958 ครั้ง
อันดับ 2 tanawatofficial : Retweet 67,695 ครั้ง
อันดับ 3 pita_mfp : Retweet 46,550 ครั้ง
ส่วน Top Account ที่มี Engagement สูงสุดบน Instagram ได้แก่
อันดับ 1 moveforwardparty.officail : Like สูงสุด 54,428 ครั้ง
อันดับ 2 bao.samong : Like 39,658 ครั้ง
อันดับ 3 tanawatofficial : Like 39,472 ครั้ง
ส่วน Top Account ที่มี Engagement สูงสุดบน YouTube ได้แก่
อันดับ 1 - อันดับ 3 เป็น Account : Paul Pattarapon พอล ภัทรพล
โดยคลิปที่ 1 กวาดไป 9.5 แสนวิว และเป็นคลิป YouTube Shorts กด Like 55,000 Comments 9,536 ครั้ง คลิปติดเทรนด์อันดับ 24 ใน YouTube มาแรง
อันดับ 2 เป็นคลิป YouTube Shorts มี 1.3 ล้านวิว กด Like 52,000 Comments 3,594 ครั้ง
อันดับ 3 เป็นคลิป YouTube Shorts มี 8.5 แสนวิว กด Like 40,000 Comments 10,208 ครั้ง
แล้วใครเป็นคนส่วนมากที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ไปดู Demographic กันครับ
จากกราฟจะเห็นว่าคนเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้และแสดงความคิดเห็นเหล่านี้ออกมาเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง
อายุ 18-24 จำนวน 55.34%
อายุ 25-34 จำนวน 26.68%
จากจำนวนคนช่วงอายุนี้จะเห็นได้ว่าสัดส่วนรวมกันเกิน 80% ของคนทั้งหมด และเป็นคนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น
แล้วเรามอนิเตอร์คีย์เวิร์ดอะไรบ้าง แพลตฟอร์มใดบ้าง
ซึ่งมีทั้งคีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์รอง
Top Site (Platform)
Top Hashtag
หากเราสังเกตุดีๆ
Comments ที่เกิดเยอะสุดคือเกิดบนแพลตฟอร์ม YouTube จำนวนข้อความคือ 1244,891 ข้อความ คิดเป็น 41.76% ของคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่เรามอนิเตอร์
พื้นที่ใดที่มีการพูดถึงในหัวข้อนี้บ้าง
อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร
อันดับ 2 ระยอง
อันดับ 3 นนทบุรี
นี่เป็นข้อมูลจาก Social Listening ที่เรานำมาเล่าให้ฟังว่าคนในปัจจุบันมีการเสพสื่อต่างๆแล้วรู้สึกอย่างไร คิดเห็นอย่างไร และมีมุมมองอย่างไร
ฉะนั้นการทำคอนเท้นท์อะไรก็แล้วแต่ หรือการวางกลยุทธ์ใดก็แล้วแต่สิ่งที่เราควรต้องดูก่อนเลยคือ ใครคือกลุ่มคนดู เขาดูอะไร บนแพลตฟอร์มไหน เขาชอบอะไร และแน่นอนครับ เราได้นำเสนอสิ่งนั้นให้เขาหรือไม่
โปรดติดตามกันตอนต่อไปใน เล่าเรื่องด้วยดาต้า (DATA Journalism) โดย TNN ONLINE Original CLIP
ข่าวแนะนำ