TNN ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่

TNN

ภูมิภาค

ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่

ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่

นักวิชาการระบบนิเวศทะเลเผยสถิติ ปี 66-67 พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว หวั่นปีหน้าฝั่งอันดามันเหลือพะยูนไม่ถึง 100 ตัว ขณะที่มีผลผ่าพิสูจน์พะยูน ตาย 2 ตัว จากทะเลกระบี่และตรัง สภาพคล้ายกันคือป่วยตายจากการขาดอาหาร

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ทีมสัตวแพทย์ชันสูตรซากพะยูนเพศเมีย อายุช่วงวัยรุ่น จำนวน 2 ตัว ตัวแรกจาก จ.กระบี่ พบเกยตื้นตายบริเวณท่าเรือเกาะปู ต.เกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง / ตัวที่ 2 พบเกยตื้นตายในทะเลตรัง บริเวณหาดสบาย ทางทิศตะวันตกของเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง
  ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่


โดยทั้ง 2 ตัว พบว่าความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ผอมถึงผอมผิดปกติ ลักษณะภายนอกพบรอยพฤติกรรมฝูงบริเวณหลัง พบเพรียงเกาะทั่วลำตัว ไม่พบบาดแผลฉกรรจ์หรือบาดแผลจากเครื่องมือประมง / ลักษณะอวัยวะภายในโดยเฉพาะในส่วนของทางเดินอาหาร พบอาหารหญ้าทะเลเล็กน้อย มีพยาธิอัดแน่นในกระเพาะอาหาร ไม่พบสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร และพบลักษณะบ่งชี้อาการป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์อ่อนแอ ขาดอาหาร และตาย 
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ และอาหารในกระเพาะอาหารของทั้ง 2 ตัว ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป ส่วนซากเจ้าหน้าที่ได้ทำการฝังกลบภายในศูนย์วิจัยฯ 



ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่




ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่



ผ่าพิสูจน์พะยูนตาย 2 ตัว จากทะเลตรังและทะเลกระบี่




ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงสถานการณ์การตายของพะยูน ในอดีตตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว แต่ปัจจุบันตั้งแต่ 2566-2567 อยู่ที่เดือนละ 3.75 ตัว ถือว่าผิดปกติอย่างมาก
 
โดยสาเหตุหลักคือโลกร้อนได้เปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมทำให้หญ้าทะเลลดลงจนวิกฤต ขณะที่พะยูนเต็มวัยต้องการหญ้าทะเล 13-16 ไร่ ปกคลุมพื้นที่อย่างน้อยร้อยละ 60 ในการดำรงชีวิต แต่ปัจจุบันหญ้าทะเลที่สมบูรณ์แทบไม่มีเหลือทั้งในตรัง  กระบี่  สตูล จนพะยูนต้องตระเวนกินไปเรื่อยๆ อาหารที่เหลือน้อยทำให้พะยูนผอม ป่วย อ่อนแอ และตาย  นอกจากนี้ยังมีภัยคุกคามจากสัญจรทางน้ำ การทำประมง ที่ร้ายแรงคือการล่าเอาเขี้ยว
 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามหาแนวทางแก้ปัญหาภัยคุกคามพะยูน แต่ก็เป็นการแก้แบบฉุกเฉิน ขณะที่ระยะยาวต้องใช้เวลา 1-5 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งการเร่งศึกษาปลูกหญ้าทะเลในทุกรูปแบบ เพิ่มศักยภาพอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือในการสำรวจและช่วยชีวิตพะยูน  สร้างเครือข่ายขยายผลการอนุรักษ์ในพื้นที่  


 อ.ธรณ์ ระบุด้วยว่า หากพะยูนตายด้วยอัตราเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว เชื่อว่าในอันดามันปีหน้าจะเหลือน้อยกว่า 100 ตัว และจะเหลือน้อยลงเรื่อยๆ หวังให้ตัวแทนประเทศไทยใช้เวที COP29 อยากให้ ขยายผลประเด็นนี้ไประดับโลก 




ภาพข่าวผู้สื่อข่าวจังหวัดตรัง

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง