TNN อุดรฯเร่งระบายน้ำรับ"พายุยางิ"

TNN

ภูมิภาค

อุดรฯเร่งระบายน้ำรับ"พายุยางิ"

อุดรฯเร่งระบายน้ำรับพายุยางิ

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง จ.อุดรธานี เตือนฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น เตรียมรับมือกับพายุยางิ ขณะที่พบว่ายังมีน้ำไหลเข้าอ่างฯจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ความจุอ่างร้อยละ 92.35 แล้ว โดยจะปรับการระบายน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อให้อ่างฯเข้าสู่เกณฑ์การควบคุมโดยเร็ว ทำได้ปรับเพิ่มระบายปริมาณ 30 ลบ.ม./วินาที หรือวันละ 3 ล้าน ลบ.ม.

อุดรฯเร่งระบายน้ำรับพายุยางิ


         นายวรวิทย์ สุภาอ้วน ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า   ยังมีน้ำไหลเข้าอ่างฯจำนวนมากอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะมีฝนตกต่อเนื่อง ปัจจุบันอ่างฯมีปริมาณน้ำ 125.20 ล้านลูกบาศก์มเมตรคิดเป็นร้อบละ  92.35 จากความจุสูงสุด 135.5 ล้านลูกบาศก์เมตร  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง จึงจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นโดยจะปรับเพิ่มระบายปริมาณอีก  30 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หรือวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร  และคาดว่าฝนตกต่อเนื่อง  จึงประกาศแจ้งให้เกษตรกรในเขตพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่ติดกับลำห้วยหลวง และลำห้วยสาขา เก็บสิ่งของมีค่าไว้ในที่สูง เพราะการระบายน้ำครั้งนี้ อาจจะส่งผลให้น้ำในลำห้วยหลวง และลำห้วยสาขา อาจกระทบกับบ้านเรือนของประชาชน ที่อยู่บริเวณสองฝั่งลำห้วยได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงการระบายน้ำ จะประกาศให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้ง


อุดรฯเร่งระบายน้ำรับพายุยางิ


          ปัจจุบันลุ่มน้ำห้วยหลวง  อยู่ในช่วงเฝ้าระวัง จากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องก่อนหน้านี้ ทำให้อ่างฯบางแห่งเต็มความจุ ลำห้วยหลวง และลำห้วยสาขาล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือน ถนน และพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นการท่วมรอบแรก  โดยล่าสุดแม้ความรุนแรงของฝนจะลดลง ไม่มีน้ำท่วมบ้านเรือนและถนนแล้ว  ระดับน้ำในลำห้วยหลวงไม่ล้น แต่ระดับน้ำยังสูงอยู่  

อุดรฯเร่งระบายน้ำรับพายุยางิ

         


          วันนี้(7 ก.ย.) จะเริ่มจากอ่างฯห้วยหลวงระบาย 3 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน เปิดประตูน้ำบ้านหัวขัว อ.กุดจับ ระบายน้ำ 7.9 ล้าน ลบ.ม./วัน , อ่างฯกุดลิงง้อ ความจุอ่างเต็ม  100 % ระบายออก 0.12 ล้าน ลบม./วัน , อ่างฯหนองสำโรงความจุอ่าง  98% ระบายออก 6.8 ล้าน ลบม./วัน , อ่างฯบ้านจั่น ความจุอ่าง  74 % หยุดการระบายน้ำชั่วคราว    ขณะที่ประตูน้ำห้วยหลวง บ้านสามพร้าว อ.เมืองอุดรธานี จุดรวมของลำห้วยหลวง และลำห้วยสาขา จะมีน้ำไหลผ่าน 34.7 ล้าน ลบม./วัน  ทำให้สำนักงานชลประทานที่ 5 ได้นำเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 8 เครื่อง มาติดตั้งผลักดันน้ำไหลเร็วลงแม่น้ำโขงให้มากที่สุด ก่อนที่จะมีฝนตกลงมาจากพายุยางิ

ข่าวแนะนำ