เช็กที่นี่ เส้นทางเข้าเยี่ยมชม พระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว ตั้งแต่ 10 ม.ค. 2567
สำนักพระราชวังแจ้งปรับเปลี่ยนเส้นทางเข้าเยี่ยมชม พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
สำนักพระราชวัง ขอแจ้งปรับเปลี่ยนเส้นทางเข้าเยี่ยมชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
สำนักพระราชวัง ขอแจ้งปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินเข้าเยี่ยมชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) จากเดิมที่เดินเข้าทางประตูวิเศษไชยศรีและเดินเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามทางประตูฤๅษี เป็นเดินเข้าทางประตูมณีนพรัตน์ และเลี้ยวซ้ายไปผ่านประตูอัตโนมัติ (E-Gate) เพื่อเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชนิเวศน์แห่งแรกในกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในปี พ.ศ. 2325 มูลเหตุแห่งการสร้างเกิดขึ้นเนื่องจาก ทรงเห็นว่ากรุงธนบุรี มีชัยภูมิไม่เหมาะสมเพราะมีลำน้ำผ่านกลางเมือง เรียกว่าเมืองอกแตก เมืองลักษณะนี้ข้าศึกสามารถรุกรานได้ง่าย
สาเหตุอีกประการหนึ่งเนื่องจาก พระราชวังกรุงธนบุรี มีวัดขนาบ 2 ด้าน คือวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายพระราชวังให้ยิ่งใหญ่เหมือนพระราชวังเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาได้
พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชนิเวศน์แห่งแรกในกรุงเทพมหานคร ราชธานีหรือเมืองหลวงใหม่ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2325
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ฝากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออก ซึ่งสถานที่แห่งนี้เดิมเป็นที่อยู่ของเหล่าบรรดาชาวจีนภายใต้การดูแลของพระยาราชาเศรษฐี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายชาวจีนเหล่านี้ไปตั้งหลักแหล่งใหม่ ณ บริเวณที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิ์ ฯ) ถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์)
ปัจจุบันคือเยาวราช โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์และพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองในการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง และในวันที่ 13 มิถุนายน 2325 เวลา 6 นาฬิกา 24 นาที อันเป็นมงคลฤกษ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากพระราชวังกรุงธนบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังพระบรมมหาราชวัง ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก และเฉลิมพระราชมณเฑียร
พระบรมมหาราชวังเมื่อแรกสร้างมีเนื้อที่ 132 ไร่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่าเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งเป็นที่ประทับสำหรับพระมเหสี พระราชเทวี เจ้าจอมและเจ้านายฝ่ายในมีความคับแคบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเนื้อที่ด้านทิศใต้ออกไปทางถนนท้ายวัง เพิ่มขึ้นอีก 20 ไร่ 2 งาน รวมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 152 ไร่ 2 งาน โดยแบ่งเขตออกเป็น 3 ส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง เขตพระราชฐานชั้นใน
เวลาเปิดเข้าชม
ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 15.30 น.
สถานที่ตั้ง
ถนนหน้าพระลาน, เขตพระนคร ( รัตนโกสินทร์ )
การจำหน่ายบัตร (เฉพาะชาวต่างชาติ)
เปิดจำหน่ายบัตรเข้าชม ตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 15.30 น.
ซื้อบัตรเข้าชมผ่านช่องทางใด
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ท่านสามารถซื้อบัตรเข้าชมล่วงหน้าได้ผ่านทางเว็บไซต์ หรือซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตรภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ณ วันที่เข้าชม
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ท่านสามารถทำการซื้อบัตรเข้าชมล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 1 เดือนก่อนวันเข้าชม
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เด็กที่มีส่วนสูงไม่เกิน 120 ซม. ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม
ราคาบัตรเข้าชม
ราคาบัตรเข้าชม 500 บาทสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คนไทยไม่เสียค่าเข้าชม
สำหรับคนไทย
สำหรับคนไทยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมพระบรมมหาราชวัง โดยสามารถแสดงบัตรประชาชนได้ที่ทางเข้าเพื่อเข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ค่าบัตรเข้าชม 500 บาทสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ บัตรสามารถเข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิพิธภัณฑ์ผ้า ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง
กรณีที่ต้องการ Audio Guide สำหรับฟังบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น จีนกลาง และไทย ซึ่งสามารถเช่าในราคา 200 บาท ที่บริเวณจุดประชาสัมพันธ์
การแต่งกาย
กรุณาแต่งกายให้สุภาพเมื่อเข้าไปในบริเวณพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งทางพระบรมมหาราชวังมีการตรวจการแต่งกายของผู้เข้าชมอย่างเคร่งครัด
ดังนั้นขอให้ท่านตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้สวมใส่เครื่องแต่งกาย ดังนี้
- เสื้อแขนกุด
- เสื้อกั๊ก
- เสื้อสั้น หรือ รัดรูป
- ผ้าคลุมไหล่ทับเสื้อไม่มีแขน
- กางเกงเเบบบาง
- กางเกงขาสั้น
- กางเกงที่ฉีกขาด
- กางเกงรัดรูป
- กางเกงสำหรับจักรยาน
- กระโปรงสั้น
ข้อมูลการเดินทาง
รถไฟฟ้า (BTS)
สถานที่สะพานตากสิน ทางออก 2
เดินไปยังท่าเรือบริษัทใต้สะพานตากสิน โดยขึ้นเรือด่วนเจ้าพระยา ธงสีส้ม และขึ้นที่ท่าช้าง ( หมายเลข N9 ) ซึ่งพระบรมมหาราชวังตั้งอยู่บริเวณขวามือ
รถไฟใต้ดิน
สถานีสนามไชย ทางออก 1
จากนั้นขึ้นรถประจำทางหมายเลข 3, 9, 44, 47, 53 หรือ 82
เรือ
ขึ้นที่ท่าเตียน ( หมายเลข N8 )เมื่อท่านขึ้นจากท่าเรือเดินผ่านร้านอาหารริมทางมาเรื่อยๆ จนถึงสี่แยกขนาดใหญ่ ด้านหน้า ( ค่อนไปทางขวา ) คือพระบรมมหาราชวัง จากนั้นเดินจากตรงนี้ไปประมาณ 10 นาทีจนพบกับวัดโพธิ์ซึ่งอยู่อีกฝั่งถนน ท่านสามารถนั่งรถตุ๊กตุ๊กก็ได้ แต่อาจจะมีค่าเดินทางที่สูงในขณะที่ระยะทางไม่ได้ไกลมากนัก
รถประจำทาง
รถประจำทางที่มุ่งหน้าไปพระบรมมหาราชวังและบริเวณใกล้เคียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ สาย 1, 3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 43, 44, 47, 53, 59, 64, 80, 82, 91, 203, 503, 508, 512
รถยนต์ส่วนตัว
เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
ที่จอดรถใกล้เคียง
ได้แก่ วัดมหาธาตุ ท่ามหาราช ซอยทัพเพ็ญ ด้านข้างศาลหลักเมือง ที่จอดรถถนนราชดำเนิน และอาคารจอดรถวัดระฆัง
ข้อมูลจาก royalgrandpalace
ภาพจาก TNN ONLINE
ข่าวแนะนำ