TNN "เสียงกรน" ระดับไหนอันตราย เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

TNN

InfoGraphic

"เสียงกรน" ระดับไหนอันตราย เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

เสียงกรน ระดับไหนอันตราย เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

เช็กความเสี่ยง "เสียงนอนกรน"ระดับไหน? อันตราย ควรรีบพบแพทย์

"เสียงกรน" ระดับไหนอันตราย เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ


การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (obstructive sleep apnea) หรือที่วงการแพทย์รู้จักกันดีในชื่อย่อว่า OSA สาเหตุสำคัญมากส่วนหนึ่งเกิดจากการอุดกั้นของช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโคนลิ้นและเนื้อเยื่อเพดานอ่อนจนกระทั่งทำให้ลมหายใจไม่สามารถเข้าออกได้อย่างปกติ หรือหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับ ทั้งนี้เป็นเพราะขณะนอนหลับกล้ามเนื้อและระบบประสาทจะคลายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเข้าสู่ระยะหลับฝัน หรือที่แพทย์เรียกว่าการหลับระยะ REM (อ่านว่า “เร็ม”)


แล้วนอนกรน ระดับไหน ที่อันตราย ควรพบแพทย์


ระดับที่ 1 

การนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย มีเสียงไม่ดังมาก ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจขณะนอนหลับ


ระดับที่ 2 

การนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลาง ส่งผลให้รู้สึกง่วง เหนื่อย ในเวลากลางวัน


ระดับที่ 3 

การนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย ถือเป็นความผิดปกติ ควรพบแพทย์


ขอบคุณข้อมูล: รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ คลินิกนอนกรน แผนกหู คอ จมูก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


เสียงกรน ระดับไหนอันตราย เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

ข่าวแนะนำ