แพทย์เผยไม่ควรเข้าห้องน้ำ นานเกิน 10 นาที
ใครชอบนั่งชักโครกนาน เล่นมือถือเพลิน ต้องระวัง เกิดแรงดันในช่องท้อง เกิดเลือดคลั่งตรงหูรูดทำให้เป็นริดสีดวง
การนั่งในห้องน้ำเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณได้ ดร. Lai Xue ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จากศูนย์การแพทย์ตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยเท็กซัสในดัลลาส ได้เชื่อมโยงเรื่องของการนั่งชักโครกกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอลง
ทั้งนี้การนั่งชักโครกนานต้องระวังส่งผลให้เกิดแรงดันในช่องท้องผลให้เกิดเลือดคลั่งตรงหูรูด เส้นเลือดดำถ่ายเทไม่สะดวก เกิดการบวมจนยืดตัวหรือยื่นนูนออกมา ทำให้เป็นริดสีดวง ดร. Farah Monzur ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และผู้อำนวยการศูนย์โรคลำไส้อักเสบ จาก Stony Brook Medicine ในลองไอแลนด์ รัฐนิวยอร์ก กล่าวว่า ผู้คนควรใช้เวลาโดยเฉลี่ย 5 ถึง 10 นาทีเท่านั้น แล้วทำไมถ้าคุณนั่งบนชักโครกนานกว่านั้นจึงกลายเป็นปัญหา นี่คือบทเรียนฟิสิกส์สั้นๆ แรงโน้มถ่วงทำให้ เราติดอยู่บนพื้นโลก แต่แรงโน้มถ่วงเดียวกันนั้นยังบังคับให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดกลับขึ้นไปที่หัวใจ ที่นั่งชักโครกรูปไข่แบบเปิดจะบีบบั้นท้าย ทำให้ทวารหนักอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า เมื่อแรงโน้มถ่วงดึงส่วนล่างของร่างกายลง ความดันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิตของคุณ
อีกหนึ่งภาวะที่เกิดจากการนั่งชักโครกนานที่หลายหลายคนยังไม่รู้คือ ภาวะอุ้งเชิงกรานอ่อนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เนื่องจากอุ้งเชิงกรานทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของลำไส้ กับส่วนอื่นๆของร่างกายในขณะขับถ่าย ดังนั้นเมื่อนั่งชักโครกนานเกินไป แรงโน้มถ่วงจะกดทับกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกราน ทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในบริเวณอุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติ เมื่ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง จะเริ่มมีอาการ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กลั้นอุจจาระไม่อยู่ ปวดในบริเวณอุ้งเชิงกราน รวมถึงปัญหาทางเพศเช่นความต้องการทางเพศลดลงและมีอาการเจ็บมีเพศสัมพันธ์อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อภาวะไส้ตรงปลิ้น
ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรม ใช้เวลานั่งชักโครกให้น้อยลง ไม่ควรนั่งเกิน 5-10 นาที ลดการใช้โทรศัพท์มือถือตอนนั่งชักโครก เวลาใช้งานชักโครกควรรักษาความสะอาดทุกครั้งก่อน-หลังใช้งาน โดยเฉพาะห้องน้ำสาธารณะ
ข่าวแนะนำ