วิ่งแข่งในวันที่ PM 2.5 สูง คุ้มหรือไม่?
หมอแอร์ แพทย์หัวใจและการกีฬา ตอบคำถาม วิ่งแข่งในวันที่ PM 2.5 สูง คุ้มหรือไม่?
1. การ Reflect ตัวเอง
ถามตัวเองก่อน:
อายุและโรคประจำตัว: คุณมีโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หรือโรคหัวใจ และความเสี่ยง หรือไม่? PM 2.5 มีผลกระทบรุนแรงต่อกลุ่มนี้
เป้าหมายการแข่ง: การแข่งครั้งนี้สำคัญแค่ไหน? เป็นโอกาสที่คุณรอคอยมานานหรือแค่การซ้อมเพื่อพัฒนาตัวเอง? หรือวิ่งสนุกๆ
2. สะท้อนเหตุผล 4 แบบ ของตัวเอง
เขียนใส่กระดาษ หรือ คอม
2.1 แข่งแล้วได้ประโยชน์อะไร?
เช่น ทำ New PB ขึ้น Podium ทำเงินรางวัล
ได้ทำตามเป้าหมายที่วาง
2.2 แข่งแล้วเสียประโยชน์อะไร?
- เสี่ยงต่อสุขภาพ: การสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในปอดสามารถทำให้ระบบหายใจเสียหาย หรือเกิดภาวะอักเสบในร่างกาย
- ลดประสิทธิภาพระยะยาว: หากสุขภาพได้รับผลกระทบจากการแข่งครั้งนี้ อาจต้องพักฟื้นนานกว่าปกติ
- การวิ่งแบบไม่ได้เต็มที่: PM 2.5 จะลดความสามารถในการวิ่งเต็มศักยภาพ อาจทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่หวัง
เป็นต้น
2.3 ไม่แข่งแล้วได้ประโยชน์อะไร?
- ปกป้องสุขภาพระยะยาว
- ลดความเสี่ยง โรคปอด โรคหัวใจ
เป็นต้น
2.4 ไม่แข่งแล้วเสียประโยชน์อะไร?
ไม่ได้ทำสถิติ
ไม่ได้เจอเพื่อน
ไม่ได้เงินรางวัล
ไม่คุ้ม ค่าใช้จ่ายที่เสียไป: ค่าสมัครและค่าโรงแรม แต่จริงๆ มันคือ sunk cost ไม่ควรเอามาคิด เพราะไม่แข่ง ก็ไม่ได้เงินกลับมา
เป็นต้น
เอา 4 แกน มาชั่งน้ำหนัก ทั้ง ด้านแข่งและไม่แข่ง แล้วตัดสินใจครับ ถ้าตัดสินใจยังไม่ได้ ไป ข้อ 3 ต่อ
3. วิเคราะห์สถานการณ์หน้างาน
ดูปริมาณฝุ่นในวันแข่ง
หากค่าฝุ่นเกิน 100 AQI (Air Quality Index) , PM2.5 >40 ควรพิจารณาว่าแข่งดีไหม เราต้องวิ่งนานแค่ไหน หนักแค่ไหน
เกิน 150 AQI PM2.5 > 60 ควรพิจารณาอย่างหนักมาก ว่าแข่งอาจไม่คุ้ม และมี กระทบระยะสั้น และยาวกับสุขภาพมากๆ
4. ตัดสินใจด้วยตัวเอง จากข้อมูลดังกล่าว 1-3
จะทำให้เรา ตัดสินใจได้มีเหตุผลมากขึ้นในการแข่ง หรือไม่แข่งครับ
ในวันที่ PM 2.5 สูง การตัดสินใจลงแข่งควรขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ส่วนตัวและผลกระทบต่อสุขภาพ หากสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การเลี่ยงการแข่งขันในวันนั้นอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และช่วยให้คุณแข็งแรงพร้อมสำหรับการแข่งขันครั้งต่อไป
ที่มา : เฟซบุ๊ก Akanis Srisukwattana
ข่าวแนะนำ