TNN โดดเดี่ยว ไร้สังคม เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

TNN

Health

โดดเดี่ยว ไร้สังคม เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

โดดเดี่ยว ไร้สังคม เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

วิจัยชี้ ว่า การขาดปฏิสัมพันธ์ โดดเดี่ยว ส่งผลให้โปรตีนในเลือดสูง เสี่ยงป่วยโรคมะเร็งและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

งานวิจัยชี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว มีส่วนทำให้เราสุขภาพดีขึ้น ช่วยส่งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวานชนิดที่ 2 แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ โดดเดี่ยว ส่งผลให้โปรตีนในเลือดสูง เสี่ยงป่วยโรคมะเร็ง และเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร


นักวิจัยจากอักฤษและจีนศึกษาโปรตีนจากตัวอย่างเลือดของผู้ใหญ่กว่า 42,000 คนที่เข้าร่วมในโครงการ UK Biobank 


และพบว่าความสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ขณะที่การแยกตัวจากสังคม ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ส่งผลให้แย่ลงและมีความเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 


โดยหนึ่งในวิธีที่ทำให้เข้าใจผลกระทบดังกล่าว มาจากการศึกษา กลไกทางชีวภาพ ของโปรตีนที่หมุนเวียนในเลือด ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ผลิตโดยยีนและมีความจำเป็นในการช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ 


ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แห่งสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ประเทศจีน ได้ตรวจสอบ 'โปรติโอม' หรือ กลุ่มของโปรตีน  ในตัวอย่างเลือดจากผู้ใหญ่อายุ 40-69 ปีกว่า 42,000 คนที่เข้าร่วมใน UK Biobank และเห็นว่า ในกลุ่มคนที่แยกตัวจากสังคมหรือรู้สึกโดดเดี่ยว โปรตีนในเลือดเหล่านี้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพแย่ลง


ในกลุ่มคนที่โดดเดี่ยว ตัดขาดจากสังคม หรือไร้ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เมื่อวิเคราะห์โปรติโอมและปรับปัจจัยต่างๆ ของคนกลุ่มนี้ เช่น อายุ เพศ และพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 


ทีมวิจัยพบโปรตีนทั้งหมด 201 ชนิด ในจำนวนนี้มีหลายชนิดที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ การติดเชื้อไวรัส และเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน รวมถึงมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลอดเลือดสมอง 


ดร.ชุน เฉิน แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น กล่าวว่า การแยกตัวจากสังคมและความรู้สึกโดดเดี่ยวเชื่อมโยงกับสุขภาพที่แย่ลง และมีระดับโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนี้ ซึ่งอันตรายอย่างมาก 


หนึ่งในโปรตีนที่ถูกผลิตในระดับสูงขึ้นจากความรู้สึกโดดเดี่ยวคือ ADM ซึ่งมีบทบาทในการตอบสนองต่อความเครียดและการควบคุมฮอร์โมนความเครียดและฮอร์โมนทางสังคม เช่น ออกซิโทซิน หรือที่เรียกว่า 'ฮอร์โมนแห่งความรัก' ซึ่งสามารถลดความเครียดและปรับปรุงอารมณ์ได้


ระดับโปรตีน ADM สูง ยังส่งผลให้ปริมาตรของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึก หดเล็กลง เช่นเดียวกันกับสมองที่เกี่ยวกับกระบวนการทางอารมณ์ รางวัล และสังคม 


โปรตีนอีกชนิดหนึ่งคือ ASGR1 เชื่อมโยงกับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะที่โปรตีนอื่นๆ ที่ระบุมีบทบาทในการพัฒนาภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะหลอดเลือดแข็ง  และการลุกลามของมะเร็งด้วย


ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก อธิบายว่าการแยกตัวจากสังคมและความรู้สึกโดดเดี่ยวเป็น "ปัญหาสาธารณสุขระดับโลก" ที่คนในสังคมจำเป็นต้องหาทางออกร่วมกัน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง