TNN กินดึก ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลน้อย เสี่ยงโรคเบาหวาน

TNN

Health

กินดึก ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลน้อย เสี่ยงโรคเบาหวาน

กินดึก ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลน้อย เสี่ยงโรคเบาหวาน

ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมื้อหนักตอนดึกๆ เนื่องจากร่างกายจะเผาผลาญน้ำตาลน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2

ใกล้เทศกาลวันหยุดยาว หลายคนตั้งตารอคอยปาร์ตี้ ซึ่งส่วนใหญ่จัดกันดึก บางทีก็กินเลี้ยงกันข้ามคืน ถึงจะได้สนุกสุดเหวี่ยง แต่สุขภาพก็ยังสำคัญ


งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition & Diabetes แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมื้อหนักตอนดึกๆ เนื่องจากร่างกายจะเผาผลาญน้ำตาลน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 


และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และการอักเสบเรื้อรัง ที่นำไปสู่โรคมะเร็ง


การศึกษาชิ้นนี้ จัดทำโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oberta de Catalunya ในบาร์เซโลนา ประเทศสเปน และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก ชี้ว่า การรับประทานอาหารในช่วงดึก ทำให้ร่างกายได้รับแคลอรีจำนวนมากกว่า 45% ของแคลอรี่ทั้งวันหลัง เสียอีก


ซึ่งความเชื่อเดิม เชื่อว่า ผลเสียของการกินดึกคือทำให้น้ำหนักเพิ่ม เป็นโรคอ้วน 


แต่ผลการศึกษาชิ้นนี้ ระบุว่า ผลเสียมีมากกว่านั้น เนื่องจากช่วงหลังเวลา 17:00 น. เป็นเวลาที่ร่างกายเข้าสู่โหมดผ่อนคลาย เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การพักผ่อน การทำงานของระบบต่างๆ ลดลง ซึ่งร่วมถึง การเผาผลาญน้ำตาล 


การศึกษาได้แบ่งผู้เข้าร่วม 26 คนที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี ซึ่งมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน และมีภาวะก่อนเบาหวานหรือเบาหวานชนิดที่ 2 ออกเป็นสองกลุ่ม


กลุ่มแรก เป็น "กลุ่มที่กินเร็ว" ที่บริโภคอาหารก่อน 17.00 น. และกลุ่มที่ 2 คือ "กลุ่มที่กินช้า" ที่ชอบทานอาหารหลัง 17.00 น. 


ทั้ง 2 กลุ่มถูกกำหนดให้กินอาหารด้วยแพทเทิร์นดังกล่าวเป็นเวลา 14 วัน


ผลปรากฎว่า กลุ่มที่กินช้า ไขมันและคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าและมีแนวโน้มที่จะเลือกทานอาหารประเภทโปรตีนและน้ำตาลมากกว่ากลุ่มที่กินเร็ว


ทำไมการกินดึกจึงไม่ดีต่อสุขภาพ?


ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจากมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐฯ กล่าวว่า การกินในช่วงเย็นจนถึงดึก ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะคนส่วนใหญ่ทำกิจกรรมน้อยลงในตอนกลางคืน ร่างกายจึงไม่ต้องการพลังงานจากการทานในช่วงเวลาดังกล่าวมาใช้งานมากนัก


ปัญหาของการกินดึก คือ เรากำลังบริโภคอาหารในช่วงที่ร่างกายไม่ต้องการ


ขณะเดียวกัน ร่างกายจะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นในตอนกลางคืน ต่างกับตอนกลางวัน ที่ตับจะทำงานมากกว่าและมีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น 


ดังนั้น ถ้ากินอาหารดึก จะมีโอกาสดื้อต่ออินซูลินสูงขึ้น มีอัตราการเกิดภาวะก่อนเบาหวาน และพัฒนาเป็นเบาหวานสูงขึ้น 


ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ พบบ่อยในคนทำงานกะกลางคืน เช่น นักดับเพลิง ตำรวจ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานกลางคืนบ่อย


สำหรับมื้อเย็น ที่แนะนำควรเป็นมื้อที่เบาที่สุด ลดคาร์โบไฮเดรต และลดการกินของหวานกับแอลกอฮอล์


อาหารเย็นที่ดีควรเป็นอาหารที่มีแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพและแหล่งไขมันที่ดีต่อสุขภาพ  เช่น สลัด 


นอกจากนี้ รูปแบบการนอนที่สม่ำเสมอ เช่น นอน 22:00 น. ตื่น 06:00 น. เป็นกิจวัตร ก็จะช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานอย่างเป็นปกติ และลดความไวต่ออินซูลินได้อย่างดีด้วย


ที่มา : 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง