TNN พบ "ไมโครพลาสติก" ในเนื้อเยื่อจมูกใกล้ฐานสมอง

TNN

Health

พบ "ไมโครพลาสติก" ในเนื้อเยื่อจมูกใกล้ฐานสมอง

พบ ไมโครพลาสติก ในเนื้อเยื่อจมูกใกล้ฐานสมอง

การศึกษาล่าสุด พบเศษพลาสติกเหล่านี้ในเนื้อเยื่อจมูกของมนุษย์ บริวเณใกล้กับฐานสมอง ซึ่งนับว่าน่ากังวลอย่างมาก

ผลกระทบจากขยะพลาสติกไม่เพียงส่งผลต่อสภาพแวดล้อม แต่ยังเป็นภัยต่อร่างกายของมนุษย์ด้วย ตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนถึงอันตรายของ "ไมโครพลาสติก" ที่เกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติก กันมาพักใหญ่แล้ว 


การศึกษาล่าสุด พบเศษพลาสติกเหล่านี้ในเนื้อเยื่อจมูกของมนุษย์ บริวเณใกล้กับฐานสมอง ซึ่งนับว่าน่ากังวลอย่างมาก


ไมโครพลาสติก คือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มักเกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่หรือเกิดจากพลาสติกที่มีการสร้างให้มีขนาดเล็ก


ความน่ากลัวของไมโครพลาสติก คือด้วยความที่มันมีขนาดจิ๋ว มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เหมือนเข้าสู่ร่างกายจึงกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมที่นำไปสู่โรคร้ายอื่นๆ ได้อย่างไม่คาดคิด


เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานพบไมโครพลาสติกในหัวใจมนุษย์ เป็นครั้งแรก ซึ่งคาดว่าไม่รับมาจากการสัมผัสโดยตรง 


ขณะที่การค้นพบครั้งนี้ ไมโครพลาสติกถูกพบใน "ป่องรู้กลิ่น" ซึ่งเป็นส่วนของจมูกที่ทำหน้าที่ตรวจจับกลิ่นที่อยู่ตรงบริเวณฐานของสมอง ด้วยความที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท จึงน่ากลัวว่าไมโครพลาสติกอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคทางระบบประสาทได้ด้วย


นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกในสมองของศพมนุษย์ 15 คน โดยอนุภาคเหล่านี้ มีขนาดตั้งแต่ 5.5 - 26.4 ไมโครมิเตอร์ หรือพูดง่ายๆว่า เศษอนุภาพที่เล็กที่สุดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์เท่านั้น


แม้จะยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าไปในร่างกายของมนุษย์ได้อย่างไร แต่ข้อมูลดังกล่าวก็เพียงพอจะบ่งชี้ได้ว่า อันตรายของขยะพลาสติกน่ากลัวมากกว่าที่คิด 


เพราะหากมันสามารถเข้ามาอยู่ใกล้ฐานสมอง ก็อาจจะเคลื่อนไปยังบริเวณอื่นๆ ของสมองได้ หากผ่านชั้นกั้นเลือกที่ปกป้องสมอง ก็จะทำให้เป้นอันตรายต่อสมอง และบริเวณไขสันหลัง


การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของไมโครพลาสติกก่อนหน้านี้ ชี้ว่า พบการปนเปื้อนในเนื้อเยื่อปอดและตับ พบในน้ำนมมารดา และในอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ นำไปสู่โรคร้ายอย่างมะเร็ง และโรคเมตาบอลิก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรค เบาหวาน และโรคอ้วน


ภาพปก : Envato

ที่มาข้อมูล : https://www.forbes.com/sites/tylerroush/2024/09/16/microplastics-found-in-human-brain-study-says-after-being-detected-in-hearts-blood/

https://edition.cnn.com/2024/09/16/health/microplastics-nose-wellness/index.html

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง