มาตรการล็อกดาวน์ช่วงโควิด ทำให้สมองของวัยรุ่น "แก่เร็วขึ้น"
งานวิจัยเผย มาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ต้องปิดชั่วคราว ส่งผลต่อสมองของเด็กวัยรุ่น มีอายุมากกว่าปกติ 4 ปี
แม้ทั่วโลกจะเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว แต่ผลกระทบของโรคโควิด-19 ยังไม่หายไป การศึกษาใหม่ๆ ทำให้เราได้เห็นว่าการระบาดของโควิด-19 เมื่อ 2 ปีก่อน มีผลกับสุขภาพและร่างกายของมนุษย์มากกว่าที่คิด โดยการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในสหรัฐฯชี้ว่า จากมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ต้องปิดชั่วคราว ส่งผลต่อสมองของเด็กวัยรุ่น มีอายุมากกว่าปกติ 4 ปี
ผลการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ จาก Proceedings of the National Academy of Sciences เปิดเผยว่า พวกเขาค้นพบหลักฐานที่ยืนยันว่า กิจวัตรประจำวันของวัยรุ่นที่ถูกรบกวนในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะการกินไม่ปกติ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
สถาบันการเรียนรู้ด้านสมอง ใช้ MRIs ตรวจโครงสร้าสมองของวัยรุ่น 160 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองซีแอทเทิล รัฐวอชิงตัน เพื่อศึกษาพัฒนาการสมองของเด็กอายุ 9-19 ปี โดยเริ่มเก็บข้อมูลเริ่มตั้งแต่ปี 2018
จนกระทั่งช่วงต้นปี 2020 ขณะโควิดกำลังระบาด และหลายประเทศทยอยประมาณมาตรล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งผลจากการคำนวณขนาดความหนาของ Cerebral Cortex หรือ เปลือกสมอง ซึ่งเป็นส่วนสั่งงานและส่วนรับความรู้สึก ทำให้ค้นพบว่า ขนาดสมองของเด็กชาย แก่กว่าเดิม 1.4 ปี ส่วนเด็กผู้หญิง สมองอายุเพิ่มขึ้นถึง 4.2 ปี
โดยปกติแล้ว เปลือกสมองของคนเราจะบางลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ปัจจัยหลักๆ ก็มาจากความเครียด แต่จากผมสแกนสมองของวันรุ่นทั้ง 160 คน ทำให้เห็นสภาพเปลือกสมองที่บางลงมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเด็กผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่า
การเข้าสังคมช่วงวัยรุ่นมีอิทธิผลกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายมักพบกันเพื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกาย เช่น เล่นกีฬา การล็อคดาวน์จึงส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
เมื่อผู้หญิงเครียด การพูดคุยและปรึกษากันเป็นเรื่องธรรมชาติ ทำให้ผู้หญิงแสดงออกด้านอารมณ์มากกว่า
นั่นจึงทำให้สมองส่วนรับความรู้สึก ยิ่งต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงที่ไม่สามารถออกไปไหนได้ ทำให้ระดับความเครียดสูง สมองจึงแก่เร็ว
ภาพปก : Envato
ข่าวแนะนำ