TNN 10 วิธีป้องกัน "โรคอัลไซเมอร์ หรือ ความจำเสื่อม"

TNN

Health

10 วิธีป้องกัน "โรคอัลไซเมอร์ หรือ ความจำเสื่อม"

10 วิธีป้องกัน โรคอัลไซเมอร์ หรือ ความจำเสื่อม

เปิด 10 วิธี ป้องกัน "โรคอัลไซเมอร์ หรือ ความจำเสื่อม" ทำได้ไม่ยาก และ อาการแบบไหนเป็นสมองเสื่อม?

เปิด 10  วิธี ป้องกัน "โรคอัลไซเมอร์ หรือ ความจำเสื่อม" ทำได้ไม่ยาก และ อาการแบบไหนเป็นสมองเสื่อม?


อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ


การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม



วิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์

-บริหารสมองหรือทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมอง พบปะผู้คนและมีกิจกรรมทางสังคมที่มากกว่าการใช้สื่อออนไลน์ และคอยดูแลสุขภาพจิต ไม่เครียด ลดโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า


-ออกกำลังกายต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที


-ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเฝ้าระวังโรคประจำตัวที่อาจเกิดขึ้นใหม่ รวมถึงควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันสูง และไขมันในเลือดสูง


-ตรวจสุขภาพประจำปี รักษาและควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่


-รับประทานอาหารสายสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน ให้มีดัชนีมวลกาย ไม่เกิน 30


-หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่


-นอนหลับพักผ่อนให้มีคุณภาพการนอนที่ดี


-ฝึกสมาธิตามแนวพุทธศาสนา หรือตามแนวทางอื่น ๆ ที่ถนัด


-เลี่ยงมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้เครื่องกรองอากาศ


-ระวังอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ทั้งในวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ ระวังเรื่องการหกล้มในผู้สูงอายุ เพราะอาจทำให้ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน
    

-ดูแลหูและการได้ยิน หากมีอาการหูตึง ควรใส่เครื่องช่วยฟัง



 อาการแบบไหนเป็นสมองเสื่อม?

กรณีผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่ง หรือเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน อาจสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ปัจจุบันเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากอาการเหล่านี้

-ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง


-สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร


-ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี


-บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้


-บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ


-บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้


-บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง






ขอบคุณที่มา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ / โรงพยาบาลจุฬาฯ / โรงพยาบาลนครธน 

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ