ไขข้อสงสัย "ไส้ติ่งอักเสบ" ไม่ผ่าตัด-หายเองได้ไหม ผลข้างเคียงคืออะไร?
ไขข้อสงสัย "ไส้ติ่งอักเสบ" ไม่ผ่าตัด-หายเองได้หรือไม่ ผลเสียตามมาคืออะไร? เช็คเลย
ไขข้อสงสัย "ไส้ติ่งอักเสบ" ไม่ผ่าตัด-หายเองได้ไหม ผลเสียตามมาคืออะไร?
ไส้ติ่งอักเสบ อีกหนึ่งอาการปวดท้องที่สามารถสร้างความทุกข์ทรมารให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเริ่มแรกจะปวดบริเวณรอบสะดือก่อน และค่อยๆ ย้ายมาที่ตำแหน่งทางท้องน้อยด้านขวา และจะยิ่งทวีความปวดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากสถิติพบว่าไส้ติ่งอักเสบมักจะเกิดขึ้นในผู้ที่มีช่วงอายุ 15-45 ปี และผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นไส้ติ่งอักเสบสูงกว่าผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 2%
การรักษาไส้ติ่งอักเสบ
สำหรับภาวะไส้ติ่งอักเสบ ไม่สามารถหายได้เอง และไม่สามารถรักษาด้วยการทานยาได้ ซึ่งการรักษาไส้ติ่งอักเสบที่เหมาะสมที่สุด นั่นก็คือการ การผ่าตัด นั่นเอง ซึ่งหากไม่ได้รับการผ่าตัดออก อาจนำไปสู่การเกิดภาวะไส้ติ่งแตกได้ โดยปัจจุบันการผ่าตัดไส้ติ่งมี 2 วิธี ดังนี้
1. การผ่าตัดแบบธรรมดา (Open Surgery)
โดยวิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องบริเวณท้องน้อยด้านขวา จะทำให้มีแผลขนาด 3-10 เซนติเมตร
2. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Appendectomy)
การผ่าตัดผ่านกล้อง แพทย์จะทำการผ่าตัดโดยใส่เครื่องมือผ่านรูที่เจาะไว้ และใช้กล้องช่วยนำทาง ซึ่งข้อดีก็คือจะทำให้เห็นอวัยวะภายในชัดเจน ทำให้ผ่าตัดได้ตรงจุด และไม่มีปัญหาเรื่องแผลเป็นตามมา
ไส้ติ่งแตก อันตรายอย่างไร?
หากเป็นไส้ติ่งอักเสบ และไม่ได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะไส้ติ่งแตกได้ และผลที่จะตามมาก็คือ เชื้อโรคจะแพร่กระจาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อบุช่องท้อง และอาจติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งถือเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูงมาก ดังนั้นหากเกิดอาการปวดท้องและมีอาการบ่งชี้ว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่องที
ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล
ที่มาภาพ : freepik