TNN โรค "ลมพิษเรื้อรัง" คืออะไร อันตรายหรือไม่ มีสาเหตุมาจากอะไร เช็คที่นี่!

TNN

Health

โรค "ลมพิษเรื้อรัง" คืออะไร อันตรายหรือไม่ มีสาเหตุมาจากอะไร เช็คที่นี่!

โรค ลมพิษเรื้อรัง คืออะไร อันตรายหรือไม่ มีสาเหตุมาจากอะไร เช็คที่นี่!

ทำความรู้จัก โรค "ลมพิษเรื้อรัง" คืออะไร อันตรายหรือไม่ มีสาเหตุมาจากอะไร เช็คที่นี่?

เชื่อว่าหลายๆคน คงรู้จักและคุ้นเคยกับโรคลมพิษกันดีอยู่แล้ว ซึ่งแม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นอันตรายและสามารถหายเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาการคันและผื่นที่ขึ้นตามผิวหนังอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็น โดยเฉพาะโรคลมพิษเรื้อรังที่มักเป็นๆหายๆ อาจสร้างความรำคาญและความไม่สบายกายให้กับผู้ป่วยได้ในระยะยาว


ลมพิษเรื้อรัง คืออะไร?

ลมพิษ (urticaria) คือผื่นคันที่มักเกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ ทั้งอาหาร ยา อากาศ หรือการแพ้จากการโดนสัตว์กัดต่อย ซึ่งผื่นเหล่านี้จะขึ้นบริเวณผิวหนัง มีลักษณะนูนสีแดงคล้ายกับตุ่มยุงกัด โดยประเภทของลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. ลมพิษชนิดเฉียบพลัน (acute urticaria) และ 2. ลมพิษชนิดเรื้อรัง (chronic urticaria)

สำหรับลมพิษชนิดเรื้อรัง สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ มักพบในผู้ที่มีอายุประมาณ 20 – 40 ปี อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานมักมีความเครียดสะสม จึงทำให้อาจละเลยต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุมักมาจากการถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น การแพ้อาหารอาหารทะเล สารกันบูด ของหมักดอง การติดเชื้อเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย การแพ้ยาบางชนิด เป็นต้น 


อาการของลมพิษเรื้อรัง 

สำหรับอาการของลมพิษเรื้อรัง มักมีผื่นขึ้นซึ่งจะมีความคลึงกับผื่นลมพิษปกติ สามารถพบผื่นที่มีขนาดเล็กจนถึงที่มีลักษณะใหญ่เป็นปื้นนูนแดง ให้ความรู้สักคัน กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งแขน ขา บางรายอาจมีขึ้นบริเวณใบหน้า รอบดวงตา และปากด้วย โดยระยะเวลาของการเป็นลมพิษเรื้อรัง จะเป็น ๆ หาย ๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป 


การดูแลตนเองของผู้ป่วยลมพิษเรื้อรัง 

สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยลมพิษเรื้อรัง เพื่อบรรเทาอาการ สามารถทำได้ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษอย่างเคร่งครัด

2. พกยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ติดตัวไว้เสมอ 

3. พยายามไม่เครียด และทำจิตใจให้แจ่มใส

4. หากเกิดอาการคัน ไม่ควรแกะเกาผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังอักเสบกว่าเดิม

5. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

6. ใช้ยาทา เช่น คาลาไมน์ เพื่อช่วยลดอาการคัน 


ที่มาข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลบางกอก

ที่มาภาพ : freepik

ข่าวแนะนำ