TNN หมอมนูญเผยเคสผู้ป่วยปวดหลัง ก่อนพบ “ติดเชื้อแบคทีเรียหมอนรองกระดูก”

TNN

Health

หมอมนูญเผยเคสผู้ป่วยปวดหลัง ก่อนพบ “ติดเชื้อแบคทีเรียหมอนรองกระดูก”

หมอมนูญเผยเคสผู้ป่วยปวดหลัง ก่อนพบ “ติดเชื้อแบคทีเรียหมอนรองกระดูก”

หมอมนูญเผยเคสผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง แขนขาอ่อนแรง มีไข้ ก่อนพบ “ติดเชื้อแบคทีเรียหมอนรองกระดูก”

วันนี้ ( 2 ก.ย. 66 )นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ให้ความรู้เกี่ยวกับเคสผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ก่อนจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ก่อนจะพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย 


ผู้ป่วยชายอายุ 57 ปี เริ่มปวดกลางหลังส่วนบน 5 เดือน  มีไข้ต่ำๆตอนเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 4 กิโลกรัม เดินได้ พี่สาวเคยเป็นวัณโรคปอด 1 ปีก่อน ปฏิเสธใช้ยาเสพติด

ตรวจร่างกายปกติ แขนขาไม่อ่อนแรง ตรวจเลือดพบเลือดจางเล็กน้อย เม็ดเลือดขาวปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ ทำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระดูกสันหลังส่วนอก (MRI thoracic spine) กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic spine) ชิ้นที่ 4 และ 5 และหมอนรองกระดูกบางส่วนถูกทำลาย และสงสัยมีการอักเสบเนื้อเยื่อรอบๆกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 4 และ 5 ร่วมด้วย

หมอมนูญเผยเคสผู้ป่วยปวดหลัง ก่อนพบ “ติดเชื้อแบคทีเรียหมอนรองกระดูก”

ตอนแรก คิดถึงติดเชื้อวัณโรค เพราะมีอาการนาน 5 เดือน ได้ทำการเจาะเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลังส่วนอกด้านขวา ส่งย้อมเชื้อไม่พบแบคทีเรียและวัณโรค ส่งตรวจรหัสพันธุกรรมไม่พบเชื้อวัณโรค ส่งเพาะเชื้อไม่พบแบคทีเรียและวัณโรค ส่งตรวจพยาธิวิทยา ผลมีการตายของเนื้อเยื่อ ไม่พบเซลล์มะเร็ง 


ต่อมาผู้ป่วยก้าวพลาด ตกบันได เดินลำบาก ขาอ่อนแรง เริ่มมีไข้สูง ได้เพาะเชื้อโรคจากเลือด พบเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ไวต่อยา Oxacillin ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ลิ้นหัวใจปกติ

หมอมนูญเผยเคสผู้ป่วยปวดหลัง ก่อนพบ “ติดเชื้อแบคทีเรียหมอนรองกระดูก”

วินิจฉัยเป็นโรค Spondylodiscitis กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ให้ยาฆ่าเชื้อ Cloxacillin ทางเส้นเลือดและทำการผ่าตัดเอาเนื้อตายจากหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 4 และ 5 ออก ใส่สกรูยึดกระดูกสันหลังชิ้นที่ 2,3,5,6,7 (ดูรูป) ส่งหมอนรองกระดูกสันหลังเพาะเชื้อ พบเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ตัวเดียวกับในเลือด ให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดนาน 8 สัปดาห์ คนไข้ดีขึ้น ไม่มีไข้ ไม่ปวดหลัง เดินได้ดีขึ้น 


การติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังพบได้น้อย ซึ่งแยกยากจากการติดเชื้อวัณโรค เนื่องจากมีอาการและภาพทางรังสีคล้ายกัน 

เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังได้ 3 ทางคือ 1 เชื้อเข้าสู่กระดูกสันหลังโดยตรงเช่นถูกแทง 2 ลุกลามจากการติดเชื้อบริเวณใกล้เคียงกับกระดูกสันหลัง และ 3 เชื้อมาทางกระแสเลือด แต่ในรายนี้ไม่แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียเข้ากระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังได้อย่างไร

ข่าวแนะนำ