"คอเลสเตอรอลสูง" ห้ามกินอะไร? และอาหารแบบไหนบ้างที่ควรกิน
"คอเลสเตอรอลสูง" ห้ามกินอะไร? และอาหารแบบไหนบ้างที่ควรกิน และ ถ้าปล่อยให้ไขมันในเลือดสูงจะเป็นอย่างไร
"คอเลสเตอรอลสูง" ห้ามกินอะไร? และอาหารแบบไหนบ้างที่ควรกิน และ ถ้าปล่อยให้ไขมันในเลือดสูงจะเป็นอย่างไร
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คืออะไร?
คอเลสเตอรอล คือ สารประกอบไขมันชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ร่างกายของเราต้องการคอเลสเตอรอลบางอย่างในการสร้างสุขภาพที่ดี เช่น เป็นสารตั้งต้นผลิตฮอร์โมนบางชนิด และเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ และหากร่างกายเรามีคอเลสเตอรอลมากเกินไป จากประโยชน์ก็อาจกลับกลายเป็นโทษร้ายได้เหมือนกัน
ไขมันในเลือดสูง คือไขมันชนิดไหน
ไขมันในเลือดมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย โดยจะทราบได้จากค่าผลการตรวจไขมันในเลือด ผู้ทำการตรวจต้องงดอาหาร ก่อนทำการตรวจเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงค่าไขมันต่าง ๆ ดังนี้
-Total cholesterol เป็นค่าคอเลสเตอรอลรวมในร่างกาย โดยรวมทั้งชนิด HDL, LDL และ non-HDL
-Low density lipoprotein (LDL) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี หากมีไขมันชนิดนี้สูงจะทำให้มีการสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ หลอดเลือดเปราะ เสี่ยงต่อการแตกและตีบตัน
-High density lipoprotein (HDL) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี จะช่วยนำคอเลสเตอรอลไปใช้ ลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
-Non-HDL เป็นผลของ Total cholesterol หักด้วย HDL จึงประกอบด้วย LDL และไขมันชนิดอื่น ๆ เช่น very-low-density lipoprotein (VLDL) ซึ่งรวมถึง Triglycerides ด้วย เนื่องจาก triglycerides สามารถสะสมในหลอดเลือดและทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแคบและผลเสียอื่น ๆ ได้คล้ายกับ LDL จึงจัดเป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี
คอเลสเตอรอลสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไรบ้าง?
-โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
- โรคหัวใจวาย (heart attack)
-โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
-ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (transient ischaemic attack: TIA)
-โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease: PAD)
อาหารสำหรับผู้ที่มี คอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอลสูง ควรกินอะไร?
-เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง
-ปลา โดยเฉพาะปลาทะเล อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 มื้อ
-ไข่ขาว เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี ไม่มีไขมัน และมีแคลอรีต่ำ
-ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid=PUFA) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ปริมาณที่ควรรับประทานคือ 10% ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน หรือประมาณ 2 ช้อนชาถึง 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน
-ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated Fatty Acid=MUFA) ในการประกอบอาหาร เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เช่น น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง ควรได้รับ 10-15% ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน หรือประมาณวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ อาจรับประทานไขมันชนิดนี้ในรูปของถั่วลิสง เนยถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง (Nut) ก็ได้ รับประทานธัญพืชไม่ขัดสี โดยเฉพาะข้าวโอ๊ตที่ขัดสีและผลิตภัณฑ์ที่มีเบต้ากลูแคน (Beta glucan) ซี่งเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
-ผักและผลไม้ ควรรับประทานให้มากเป็นประจำ หากเป็นเบาหวานร่วมด้วย ควรปรึกษานักโภชนาการ ถึงปริมาณของผลไม้ที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน
-ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น และผลิตภัณฑ์ถั่วแทนเนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น
-ดื่นนมและผลิตภัณฑ์จากนมชนิดพร่องไขมันหรือขาดไขมัน แทนชนิดไขมันครบส่วน
-รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
คอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินอะไร / อาหารที่ควรงด
-เนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน เช่น แคปหมู ปีกไก่ หมูสามชั้น เป็นต้น
-เครื่องในสัตว์ เช่น สมอง ตับ กระเพาะ เป็นต้น
-ไข่แดงของสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ปลา มันกุ้ง ถ้าต้องการรับประทานทั้งฟอง ควรรับประทานอาทิตย์ละไม่เกิน 3 ฟอง
-น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง (Saturated Fatty Acid) ได้แก่ น้ำมันเม็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันพวกนี้เป็นส่วนประกอบ เช่น มันแกงบวด
-น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง (Saturated Fatty Acid) ได้แก่ น้ำมันเม็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันพวกนี้เป็นส่วนประกอบ เช่น มันแกงบวด กุนเชียง ช็อกโกแลต ไส้กรอกต่างๆ ไอศกรีม เนยสด เนยครบส่วน
-อาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น ขนมอบ เบเกอรี ต่างๆ เค้ก คุกกี้ มาการีน เนยขาว
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะไขมันในเลือดสูง
เมื่อตรวจพบภาวะไขมันในเลือดสูง หากระดับไม่สูงมาก แพทย์อาจแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ขนม เบเกอรีต่าง ๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก
แต่หากปริมาณไขมันในเลือดสูงมาก หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไขมันเพื่อช่วยลดระดับไขมันในเลือด
ขอบคุณที่มา โรงพยาบาลสมิติเวช / โรงพยาบาลศิครินทร์
ภาพจาก AFP