TNN ไขคำตอบ "กินยา" กับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ "น้ำเปล่า" ได้หรือไม่?

TNN

Health

ไขคำตอบ "กินยา" กับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ "น้ำเปล่า" ได้หรือไม่?

ไขคำตอบ  กินยา กับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ น้ำเปล่า ได้หรือไม่?

ไขคำตอบ "กินยา" กับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ "น้ำเปล่า" ได้หรือไม่? ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการออกฤทธิ์ของยาอย่างไร

ไขคำตอบ  "กินยา" กับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ "น้ำเปล่า" ได้หรือไม่? ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการออกฤทธิ์ของยาอย่างไร


"ยา"  เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่ช่วยในการรักษา บรรเทา หรือป้องกันโรคและอาการป่วยต่างๆ ทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นตามฤทธิ์และสรรพคุณของยา 

หลักการใช้ยานั้น ควรใช้ยาอย่างถูกวิธี ตามขนาดและระยะเวลาของการรักษา ที่เภสัชกรหรือแพทย์แนะนำ 

แต่หลายครั้งที่ความเข้าใจผิด ความไม่รู้ รวมถึงความเชื่อผิดๆ อาจส่งผลให้การใช้ยาก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น เกิดผลข้างเคียงเนื่องจากได้รับยาเกินขนาดหรือยาหลายตัวออกฤทธิ์ต้านกัน อาจเกิดอาการแพ้ยา ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรงถึงแก่ชีวิต หรืออวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บจากยา โดยเฉพาะตับ ไต กระเพาะอาหาร และสมอง


การกินยากับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่า


การกินยาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรกินกับน้ำเปล่าที่สะอาด ไม่ควรกินคู่เครื่องดื่มอื่น เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการออกฤทธิ์ของยาได้ ดังนี้  


กินยากับนม

- แคลเซียม โปรตีน และเหล็กในนมอาจไปจับกับตัวยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดกรด ส่งผลต่อการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ยาบางชนิดอาจออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่  


กินยากับกาแฟ

- กาแฟมีคาเฟอีนออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท หากกินร่วมกับยาที่กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยาแก้หวัด ยาขยายหลอดลม อาจทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดอาการวูบเป็นลมได้ เป็นต้น


กินยากับน้ำผลไม้

- น้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ปวดท้องถ้าทานคู่กับยาที่มีฤทธิ์เพิ่มกรดในกระเพาะอยู่แล้ว น้ำผลไม้ยังมีผลต่อการดูดซึมของยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว และโรคภูมิแพ้ต่างๆ  


กินยากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

- ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและปัสสาวะมากขึ้น หากกินเวลาใกล้เคียงกับยาที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดหรือยาขับปัสสาวะ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากเกินไป เสียน้ำออกจากร่างกายเกินความจำเป็น ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ มึนงง และอาจเป็นลมหมดสติได้ 

นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังยังเพิ่มความเสี่ยงโรคตับอักเสบหรือตับแข็ง การรับประทานยาหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ขับออกจากร่างกายผ่านทางตับ ก็ยิ่งทำให้เซลล์ตับได้รับความเสียหายมากขึ้น แม้จะกินยาในขนาดปกติก็ตาม


กินยากับน้ำอัดลม

- มีทั้งกรดและน้ำตาลสูง ซึ่งขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น ยาลดกรด  ยาขยายหลอดลม




ข้อมูลจาก samitivejhospitals

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ