TNN เช็คให้ชัวร์ "งูสวัด-อีสุกอีใส" แตกต่างกันอย่างไร ใครมีโอกาสเป็นบ้าง?

TNN

Health

เช็คให้ชัวร์ "งูสวัด-อีสุกอีใส" แตกต่างกันอย่างไร ใครมีโอกาสเป็นบ้าง?

เช็คให้ชัวร์ งูสวัด-อีสุกอีใส แตกต่างกันอย่างไร ใครมีโอกาสเป็นบ้าง?

เช็คให้ชัวร์ "งูสวัด-อีสุกอีใส" แตกต่างกันอย่างไร ใครมีโอกาสเป็น?

งูสวัดและอีสุกอีใส โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่คนมากมายต้องเผชิญ ทั้งสองโรคนี้มีอาการของโรคที่คล้ายกัน เช่น มีตุ่มใส ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บและคัน อีกทั้งยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสแผล ลมหายใจ ไอ และจามได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความแตกต่างของงูสวัดและอีสุกอีใส เป็นอย่างไร? เป็นโรคเดียวกันใช่หรือไม่? วันนี้เราจะพามาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับทั้งสองโรคนี้


งูสวัดและอีสุกอีใส เกิดจากสาเหตุใด?

• อีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) ซึ่งส่วนมากมักเกิดกับเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อย เมื่อได้รับเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการคือ เกิดผื่นคันขึ้นกระจายอยู่ตามตัว 10-21 วัน หลังจากนั้นจะกลายมาเป็นผื่นพุพองและจะแสดงอาการอยู่ที่ประมาณ 5-10 วัน โดยอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร เป็นต้น

• งูสวัด

งูสวัด (herpes zoster) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับอีสุกอีใส เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะมีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำ และสร้างความเจ็บแสบเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อได้รับเชื้อวาริเซลลาซอสเตอร์เข้าสู่ร่างกายเป็นครั้งแรก จะแสดงอาการเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน หลังจากหายแล้วเชื้อไวรัสจะหลบอยู่ในร่างกาย และเมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันตก เชื้อไวรัสจะกลับมาเพิ่มจำนวนและสามารถก่อโรคงูสวัดได้ทันที


งูสวัดและอีสุกอีใส แตกต่างกันอย่างไร?

แม้ว่าทั้งงูสวัดและอีสุกอีใสจะเกิดจากเชื้อไวรัสเดียวกัน แต่ลักษณะและอาการของโรคจะแตกต่างกันดังนี้

1. ลักษณะตุ่มของอีสุกอีใสจะมีขนาดเล็กและกระจายอยู่ทั่วตัว ในขณะที่ตุ่มพองใสของงูสวัดจะขึ้นเป็นลักษณะเป็นแนวตามปมประสาท เช่น เอว แขน ขา

2. เมื่อได้ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์เป็นครั้งแรก จะเป็นโรคอีสุกอีใส แต่เมื่อหายแล้ว เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายตกจนเชื้อกำเริบอีกครั้ง (พูดให้เข้าใจง่ายๆคือเป็นครั้งที่ 2) จะกลายเป็นโรคงูสวัดทันที

3. โดยทั่วไปเป็นแล้วอีสุกอีใสไม่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ขณะที่งูสวัดเป็นซ้ำๆได้


ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ที่มาภาพ : freepik

ข่าวแนะนำ