เปิดรายชื่อ 3 แมลงมีพิษมากับฤดูฝน ห้ามสัมผัส! เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
เปิดรายชื่อ 3 แมลงมีพิษมากับฤดูฝน ห้ามสัมผัส-รับประทาน เสี่ยงถึงชีวิต พร้อมเปิด 7 วิธีปฐมพยาบาลหากถูกกัด-ต่
เข้าสู่ฤดูฝนนอกจากโรคภัยที่มาจากสภาพอากาศแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือสัตว์มีพิษ ไม่ใช่แค่งูเงี้ยวเขี้ยวขอเพียงอย่างเดียว “แมลงมีพิษ” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวัง ในประเทศไทยนั้น แมลงมีพิษ อาจทำอันตรายถึงชีวิตได้ เรามาดูกันว่า “แมลงมีพิษ” ชนิดไหนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
1.แมลงก้นกระดก
แมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบมากในฤดูฝน ซึ่งเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก 4-7 มิลลิเมตร ปีคู่แรกแข็งสั้นสีดำ ลำตัวเรียวเล็กท้องยาวมีสีส้ม
แมลงก้นกระดก จะปล่อยสารพิษที่ชื่อว่า สารพีเดอริน (Paederin) เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นคัน หรือ แผลผุพอง ผิวหนังไหม้แดงปวดแสบปวดร้อน มีไข้ ถ้าถูกบริเวณดวงตา อาจทำให้ตาบอดได้
2.ด้วงน้ำมัน
ด้วงน้ำมัน ในประเทศไทย พบได้ประมาณ 13 ชนิด โดยทุกชนิดมีพิษแบบเดียวกัน ชนิดที่พบบ่อยและประชาชนเคยเสียชีวิต จากการกินมีอยู่ 3 ชนิด ประกอบด้วย
1. Mylabris phalerata มีลักษณะคือ หัว อก ลำตัว และขาสีดำ มีปีกแข็งและมีลายขวางสีเหลืองส้มสลับดำ โดยจะเป็นสีเหลืองส้ม 3 แถบ ดำ 3 แถบ ลำตัวกว้าง 7-8 มม. ยาว 22-27 มม.
2. Epicauta hirticornis มีลักษณะที่สำคัญคือ หัวสีน้ำตาลแดง อก ลำตัว ขา และปีกสีดำ ไม่มีลายบนปีกแข็ง ขนาดของลำตัวกว้าง 3-5 มม. ยาว 12-21 มม. ช
3. Epicauta maliculi มีลักษณะสำคัญที่เห็นได้เด่นชัดคือ ปีกคู่หน้ามีสีเหลืองและปลายปีกสีดำ หัวสีแดง โดยลำตัวมีขนาดกว้าง 5-6 มม. ยาว 20-22 มม.
ด้วงน้ำมันพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีชื่อท้องถิ่น เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น ภาคกลางเรียก ด้วงโสน แมงลายขี้เมา ภาคใต้เรียกว่า ด้วงไฟเดือนห้า ทางภาคเหนือเรียก แมลงฮึ่มไฮ้ โดยด้วงน้ำมันจะพบมากอยู่ตามต้นแค ต้นโสน พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ และ ปอ โดยจะบินเป็นกลุ่มมากินใบและดอกของพืชเหล่านี้
ด้วงน้ำมัน เป็นแมลงที่มีสารพิษร้ายแรงชนิดแคนทาริดินอยู่ภายในลำตัว อันตรายเกิดจากการที่ประชาชนมีความเข้าใจผิดนำไปเผาไฟรับประทานโดยคิดว่าเป็นอาหาร หรือเป็นยาบำรุงกำลัง แล้วได้รับพิษนั้น โดยพบว่าความร้อนจากการเผาไฟหรือจากการปรุงอาหารจะไม่สามารถทำลายพิษภายในลำตัวของด้วงน้ำมันให้สลายไปได้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เคยได้รับตัวอย่างด้วงน้ำมันส่งมาตรวจวิเคราะห์หลายครั้งตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาที่ประชาชนจากภาคต่างๆ นำไปกินแล้วเกิดพิษ ทำให้เจ็บป่วย หรือบางรายถึงกับเสียชีวิต
3. มวนเพชรฆาต
มวนเพชรฆาต เป็นแมลงมวนชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 1-3 ซม. มีสีดำ น้ำตาล และจะมีสีอื่นๆ ปนอยู่ด้วย เช่น สีเหลือง แดง หรือส้ม ส่วนหัวเรียวยาว ส่วนที่อยู่หลังตาคอด ลักษณะเป็นคอ ปากเป็นแบบแทงดูด เมื่อไม่ได้ดูดกินเลือดจะโค้งงอพับ เก็บไว้ใต้ส่วนอก
มวนเพชรฆาต เป็นแมลงที่ดูดกินเลือดคนและสัตว์ใหญ่ต่างๆ เป็นอาหาร น้ำลายของมวนเพชรฆาตบางชนิด มีสารพิษทำให้เกิดความเจ็บปวด และทำให้เกิดแผล ส่วนในต่างประเทศมีรายงานว่าเป็นพาหะนำโรคบางชนิด
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมลงมีพิษกัดต่อย
1.ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาด มีเหล็กในให้ดึงออกันที
2.ประคบเย็นครั้งละ 10 นาที ลดอาการบวม
3.หลีกเลี่ยงการเกา แกะบริเวณที่ถูกกัด ลดความเสี่ยงติดเชื้อซ้ำซ้อน
4.รับประทานยาต้านฮิสตามีน ทายากลุ่มเสตรียรอยด์ ลดอาการคัน เจ็บปวด
5.มีอาการปวดสามารถกินยาพาราเซตามอล
6.พบแพทย์หากสักเกตเห็นว่าบริเวณที่ถูกกัดต่อยเกิดการติดเชื้อ บวมแดง แผลพุพองเป็นหนองมีน้ำเหลือง
7.คนที่มีโอากาสสัมผัสแมลงแล้วแพ้บ่อยๆ ควรได้รับยา epinephrine แบบพกติดตัว
ข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , โรงพยาบาลศิริราช
ภาพจาก : TNN ONLINE , ศอท.ชลบุรี