TNN "โรคฝีดาษลิง" และ "โรคเริม" การแพร่เชื้อ-อาการ แตกต่างกันอย่างไร?

TNN

Health

"โรคฝีดาษลิง" และ "โรคเริม" การแพร่เชื้อ-อาการ แตกต่างกันอย่างไร?

โรคฝีดาษลิง และ โรคเริม การแพร่เชื้อ-อาการ แตกต่างกันอย่างไร?

กรมควบคุมโรค เปิดความแตกต่าง "โรคฝีดาษลิง" และ "โรคเริม" การแพร่เชื้อ อาการ ระยะฟักตัว แตกต่างกันอย่างไร?

กรมควบคุมโรค เปิดความแตกต่าง"โรคฝีดาษลิง" และ "โรคเริม" การแพร่เชื้อ อาการ ระยะฟักตัว แตกต่างกันอย่างไร?


โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ของประเทศไทย มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงหลักคือการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักที่เป็นผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง

ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากมีผื่น/ตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือตามร่างกาย และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด สัมผัสแนบชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้สงสัยฝีดาษลิง หรือผู้ป่วยฝีดาษวานร ให้สังเกตตนเองภายหลังสัมผัสผู้ป่วยภายใน 21 วัน 

หากมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่น หรือ ตุ่มน้ำหรือ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก หรือ บริเวณรอบๆ ตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า หรือบริเวณปาก ให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาลทันที โดยแจ้งอาการและประวัติเสี่ยงประกอบการวินิจฉัย

ฝีดาษลิง สามารถป้องกันได้ โดยงดเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า ไม่สัมผัสแนบเนื้อกับผู้ที่มีผื่น ตุ่มหรือหนอง แนะนำให้ล้างมือบ่อยๆ และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422


อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยความแตกต่างระหว่าง โรค "ฝีดาษลิง" และ "โรคเริม" ดังนี้


โรคฝีดาษลิง 


เชื้อก่อโรค

Pox virus

การติดต่อ

- การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และละอองฝอยจากทางเดินหายใจ

- ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์

- ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

ระยะฟักตัว

- ภายใน 7 - 21 วัน

อาการนำ

- ไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต

อาการแสดงทางผิวหนัง

- แผลในปาก ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลางและกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงตกสะเก็ด

- รอยโรคจะอยู่ในระยะเดียวกัน

การรักษา

- แบบประคับประคองและรักษา ตามอาการ ยาต้านไวรัส tecovirimat (อยู่ระหว่างการศึกษา)


โรคเริม


เชื้อก่อโรค

Herpes simplex virus

การติดต่อ

- การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค การติดต่อทางเพศสัมพันธ์

- ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

ระยะฟักตัว

- ภายใน 3-7 วัน

อาการนำ

- อาการเจ็บ ปวดแสบร้อน คันบนตำแหน่งที่จะเกิดรอยโรค ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร อาจมีไข้ ปวดศีรศะ ต่อมน้ำเหลืองโตบางราย

อาการแสดงทางผิวหนัง

- ตุ่มแดง และตุ่มน้ำที่เจ็บบนพื้นแดง อาจจะมีรอยบุ๋มเล็กๆ ตรงกลาง ต่อมากลายเป็นตุ่มหนองและแผลหรือแปลถลอกตกสะเก็ด

- รอยโรคจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่กระจายตัว

การรักษา

- รักษาตามอาการร่วมกับยาต้านไวรัส เช่น acyclovir , famciclovir , valacyclovir



โรคฝีดาษลิง และ โรคเริม การแพร่เชื้อ-อาการ แตกต่างกันอย่างไร?



ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ