TNN "แมงกะพรุนมีพิษ" ที่พบบ่อยในไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วมีอาการอย่างไร?

TNN

Health

"แมงกะพรุนมีพิษ" ที่พบบ่อยในไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วมีอาการอย่างไร?

แมงกะพรุนมีพิษ ที่พบบ่อยในไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วมีอาการอย่างไร?

"แมงกะพรุนมีพิษ" ที่พบบ่อยในประเทศไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วจะมีอาการอย่างไร รอยไหม้จากพิษนานไหมกว่าจะหาย

"แมงกะพรุนมีพิษ" ที่พบบ่อยในประเทศไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วจะมีอาการอย่างไร รอยไหม้จากพิษนานไหมกว่าจะหาย


แน่นอนว่าเมื่อไปเที่ยวทะเล ก็ไม่พลาดที่จะลงเล่นน้ำทะเล ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกแมงกะพรุนต่อยได้ ซึ่ง แมงกะพรุนเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังรูปร่างคล้ายระฆังคว่ำต่อกับหนวดยาว พบได้ทั่วไปทุกภูมิภาค
มักพบในทะเลเขตร้อนหรืออบอุ่น และบริเวณน้่าตื้น แมงกะพรุนมีมากกว่า 9,000 ชนิด และมากกว่า 100 ชนิดมีพิษต่อมนุษย์


แมงกะพรุนกล่องแต่ละชนิดก็ส่งผลให้เกิดอาการที่ต่างกันออกไป อาการที่พบได้ทั่วไปเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย ได้แก่ ปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรง คันตามผิวหนัง หรือมีร่องรอยของหนวดแมงกะพรุนอยู่บนผิวหนังบริเวณที่ถูกต่อย แต่ถ้าหากอาการรุนแรง อาจทำให้หายใจไม่ออก หัวใจเต้นผิดปกติ จนทำให้เสียชีวิตได้

แมงกะพรุนมีพิษ ที่พบบ่อยในไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วมีอาการอย่างไร? แฟ้มภาพ รอยเตอร์

 



แมงกะพรุนมีพิษที่พบบ่อยในประเทศไทย 


1. แมงกะพรุนสาหร่าย/ สาโหร่ง (Sea wasp, Chironex species) หรือ แมงกะพรุนสีขาวเหลือง แกมแดง 


มีสายยาวต่อจากล่าตัวหลายเส้น บางครั้งสายของมันจะขาดจากล่าตัวลอยไปตามน้ำ ทำอันตรายต่อผู้ที่สัมผัสได้ ทำให้ไหม้เกรียม ปวดแสบตามกล้ามเนื้อ ในรายที่แพ้รุนแรงอาจมีไข้ และ จุกแน่นหน้าอก มีอาการ 2-3 วันจึงทุเลาลงได้ พบแมงกะพรุนชนิดนี้แถบทะเลชุมพร และหัวหิน


2. แมงกะพรุนไฟ (Sea nettle, Chrysaora species) 


มีสีแดงหรือสีเขียว ที่ล่าตัวมีจุดสีขาวทั่วไป จะลอยเป็นกลุ่มอยู่บนผิวน้ำ พบได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ และทะเลแคริเบียน เมื่อถูกตัวจะเกิดแผลพุพอง แตกเป็นน้ำเหลือง เกิดเป็นแผลรอยดำได้นานหลายปี


3. แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish) 


แมงกะพรุนกล่องไม่ใช่แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยในประเทศไทย แต่มีพิษร้ายแรงท่าให้เสียชีวิตได้ เป็นแมงกะพรุนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เหมือนแมงกะพรุน ทั่วไปที่ลอยไปตามกะแสน้ำ มีรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ตัวมักเป็นสีน้ำเงินจาง หรือไม่มีสี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม


3.1 ชนิดที่มีหนวดหลายเส้น (Box jellyfish, Chinorex fleckeri)  


มีรูปทรงเป็นลูกบาศก์ตัวเต็มวัยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-30 เซนติเมตร แต่ละมุมมี 15 tentacles ทั้งสี่มุม มักพบบริเวณ ชายฝั่งทะเลน้ำตื้น พบบ่อยในช่วงเดือนที่มีอากาศร้อน บริเวณน้ำตื้นระดับเอว หรือระดับเข่า เนื่องจากแมงกะพรุนจะมากินลูกกุ้งและลูกปลาบริเวณนั้น พบมากในเขตทะเลของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม 


ส่าหรับในประเทศไทยพบแมงกะพรุนกล่องทั้งในเขตอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่ยังไม่พบชนิดที่มีพิษร้ายแรงแบบในประเทศออสเตรเลีย และจากรายงานของสำนักระบาดวิทยา พบว่า มีผู้ที่ บาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่องมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา และมีผู้ต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่อง 4 ราย


อาการและอาการแสดง 


เจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณที่สัมผัสทันที เป็นผื่นบวมแดงหรือตุ่มน้ำ เป็นแนวยาวคล้ายรอยแส้และเป็นรอยไหม้บริเวณที่สัมผัส หายภายใน 4-12 ชม. กรณีสัมผัสพิษจำนวนมาก มีอาการสับสน หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งการเสียชีวิต มักเกิดภายใน 10 นาที เกิดจากภาวะหัวใจ ล้มเหลว หรือระบบการหายใจล้มเหลว เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและน้ำท่วมปอด ภายใน 2-10 นาทีหลังสัมผัส


ซึ่งบางรายหัวใจหยุดเต้นก่อนขึ้นจากน้ำ และพิษต่อกล้ามเนื้อ โดยท่าให้เกิดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกร็ง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องและหลัง (จากการที่โซเดียมและแคลเซียมเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อได้มากขึ้น) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ท่าให้มีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน และปวดเมื่อยตามตัวได้


3.2 ชนิดที่มีหนวดเส้นเดียว หรือ แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish, Carukia barnesi) 


รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละมุมจะมีหนวดเพียงเส้นเดียว พบในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ไทย (มีรายงานพบในแหล่งน้ำตื้นของอ่าวไทย) ญี่ปุ่น ฮาวาย แคริบเบียน เกาะตาฮิติ อินเดีย ตอนเหนือของอังกฤษ เป็นต้น พบได้ทุกฤดูกาล ทุกสภาวะอากาศ โดยพบได้บ่อยตามชายหาด แนวหินโสโครก ตามเกาะทั่วไป ท่าให้เกิดกลุ่ม


อาการ “Irukandji syndrome” (ท่าให้ร่างกายปลดปล่อยสาร catecholamine อย่างเฉียบพลัน ทำให้มีชีพจรเร็ว เหงื่อแตก ใจสั่น กระสับกระส่าย ความดันโลหิตสูงมาก มีรายงานว่าอาจมี systolic blood pressure มากกว่า 200 mmHg จนอาจมีเลือดออกในสมองได้ หัวใจบีบตัวลดลง pulmonary edema กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกร็งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลัง มีความรู้สึกเหมือนกำลังจะเสียชีวิต โดยจะเริ่มมีอาการภายใน 5-120 นาที (เฉลี่ยประมาณ 30 นาที)


อาการและอาการแสดง 


อาการเกิดช้า จะปวดหลังรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกง่าย ใจสั่น หายใจลำบาก ไอ เป็นตะคริว มักไม่ทำให้ถึงกับชีวิตแต่จะรู้สึกอึดอัด กระตุ้นให้จมน้ำได้ง่าย ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีน้ำท่วมปอด เส้นเลือดหดเกร็ง ความดันโลหิตสูงมาก และหัวใจวายได้


แมงกะพรุนมีพิษ ที่พบบ่อยในไทย แต่ละชนิดสัมผัสแล้วมีอาการอย่างไร? แฟ้มภาพ รอยเตอร์

 


กลไกการเกิดพิษ


เซลพิษจะมีเข็มพิษซ่อนอยู่มีฝาปิดและมีตัวรับสัญญาณ เมื่อถูกกระตุ้นฝาจะเปิดเข็มพิษจะถูกยิงออกมา หนวดของแมงกะพรุนจะมีเข็มพิษอยู่เป็นล้านเซลซึ่งมากกว่างูพิษ เหมือนโดนกระสุนปืนกล ท่าให้เกิดพิษอย่างรุนแรง


การวินิจฉัยการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่อง


1. ประวัติเล่นน้ำทะเล สัมผัสสิ่งที่ได้จากทะเล เช่น ชาวประมงมักสัมผัสหนวดที่ติดมากับอวนโดยเฉพาะ อวนกุ้ง
2. อาการปวดแสบปวดร้อนมาก
3. รอยไหม้ที่ผิวหนัง กรณีโดนพิษปริมาณมากผิวหนังมีลักษณะเฉพาะ
4. หมดสติอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังขึ้นจากน้ำ
5. อาจพบหนวดแมงกะพรุนเป็นเส้นบางๆ ใสๆ ติดอยู่ด้วย
6. ดูลักษณะ nematocyst ด้วยกล้องจุลทรรศน์





ที่มา วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ 

แฟ้มภาพ รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ