TNN รู้จัก ‘ไข้เลือดออก ไครเมียนคองโก’ ติดจากเห็บ-สัมผัสเลือดสัตว์มีเชื้อ

TNN

Health

รู้จัก ‘ไข้เลือดออก ไครเมียนคองโก’ ติดจากเห็บ-สัมผัสเลือดสัตว์มีเชื้อ

รู้จัก ‘ไข้เลือดออก ไครเมียนคองโก’ ติดจากเห็บ-สัมผัสเลือดสัตว์มีเชื้อ

ทำความรู้จัก ไข้เลือดออก สายพันธุ์ ไครเมียนคองโก ติดจากเห็บ-สัมผัสเลือดสัตว์มีเชื้อ สธ.เผยยังไม่พบในไทย

วันนี้ ( 27 ก.ค. 66 )นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานพบผู้ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก พื้นที่ระบาดอยู่ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียกลาง และเอเชียใต้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นโรคติดต่ออันตราย และขอย้ำว่า โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในประเทศไทย


โรคดังกล่าว มีความแตกต่างจากโรคไข้เลือดออกที่พบผู้ป่วยในประเทศไทย ดังนี้


โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ.2487 ที่บริเวณแหลมไครเมียน ต่อมาเกิดการระบาดในประเทศคองโก สาเหตุเกิดจากเชื้อไนโรไวรัส (Nairovirus) เชื้อดังกล่าวพบในตัวเห็บที่อาศัยอยู่บนตัวสัตว์เท้ากลีบ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น พบระบาดในประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิกตะวันตก


ไข้เลือดออก สายพันธุ์ ไครเมียนคองโก ติดเชื้อจากอะไร? 


 1. ถูกเห็บที่มีเชื้อไนโรไวรัสกัด

 2. สัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีเชื้อ

 3. สัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วยไครเมียนคองโก


สำหรับอาการเมื่อป่วย จะเริ่มด้วยอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระร่วง มีภาวะเลือดคั่ง ตาอักเสบบวมแดง อาจมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เกิดขึ้นบริเวณหน้าอกและท้องแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย อาจมีเลือดออกที่บริเวณเหงือก จมูก ปอด มดลูก ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอาหาร อัตราการป่วยตายจะอยู่ที่ 30-40% หากพบผู้ติดเชื้อให้แยกผู้ป่วยให้อยู่ในห้องเดี่ยว และควรเป็นห้องความดันลบ


ภาพจาก : AFP 

ข่าวแนะนำ