TNN สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม

TNN

Health

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? ควรบริโภคต่อวันเท่าไร และ โทษของน้ำตาลเทียมที่ต้องรู้

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? ควรบริโภคต่อวันเท่าไร และ โทษของน้ำตาลเทียมที่ต้องรู้


จากกรณีที่มีข่าวว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมประกาศว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ‘แอสปาแตม (Aspartame)’ เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง ซึ่งได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการดื่มเครื่องดื่มแบบไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาล 0% เพื่อต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้ได้รับพลังงานจากน้ำตาลเพิ่มแต่ก็ยังติดได้รสชาติหวานอยู่

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในปัจจุบันมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ปลอดภัยให้เลือกใช้ในท้องตลาดอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกันไป


สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย เผยว่า สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้นั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น


- โซเดียมไซคลาเมท (Sodium cyclamate) มีความหวาน 30 เท่าของน้้าตาลทราย
- ดัลซิน (Dulcin) หรือซูครอล (Sucrol) มีความหวาน 200 เท่าของน้้าตาลทราย
- ซัคคาริน (Saccharin) มีความหวานเป็น 500 เท่าของน้ำตาลทราย ส่วนในรูปของโซเดียมซัคคารีน ซึ่งเป็นรูปที่นิยมใช้ มีความหวานประมาณ 300-500 เท่าของน้้าตาลทราย
- อะซิซัลเฟม-เค ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า
- แอสปาร์แตม มีความหวาน 200 เท่าของน้้าตาลทราย
- ซอร์บิทอล (Sorbitol) มีความหวานน้อยกว่าน้้าตาลทราย คือประมาณ ½ - 2/3 เท่าของน้ำตาลทราย
- สติวิโอไซด์ (Stevioside) มีความหวานประมาณ 150-300 เท่าของน้้าตาลทราย
- ซัยลิทอล (Xylitol) มีความหวานเท่ากับน้ำตาลทราย
- ไดโซเดียมกลีซิลริซิเนต และไตรโซเดียมกลีซิลริซิเนต มีความหวาน 4,000 เท่าของน้ำตาลทราย ฯลฯ


สารให้ความหวาน หรือ น้ำตาลเทียมข้างต้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการนำมาใช้ในวัตถุประสงค์ แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิดที่ก่อให้เกิดพิษภัยต่อสุขภาพ ของผู้บริโภคได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศห้ามใช้ใส่ในอาหารทุกชนิด รวมทั้งน้าเข้าสารเคมีดังกล่าว เข้ามาในราชอาณาจักร สารดังกล่าว ได้แก่
- โซเดียมไซคลาเมท
- ดัลซิน
- สติวิโอไซด์


นอกจากนี้ ยังมีข้อก้าหนดห้ามใช้ซัคคารีน กับผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท ได้แก่ เครื่องปรุงรส และ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ด้วยเหตุผลที่ว่า ซัคคารีนเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคในวัยเด็ก ซึ่งอยู่ในช่วงที่ต้องการพลังงานสูง


สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่


1. ซัคคาริน หรือขัณฑสกร ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาลทรายถึง 300-700 เท่า
2. แอสปาร์แตม ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้้าตาลทรายมากที่สุด จึงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบัน
3. อะซิซัลเฟม-เค ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า
4. ซูคราโลส ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาลทรายถึง 600 เท่า


ปริมาณสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่บริโภคได้ต่อวัน


พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 อนุญาตให้ใชวัตถุที่ใหความหวานแทนน้ำตาลหรือใช้ร่วมกับน้ำตาล นอกจากการใช้น้ำตาลได้ โดยให้ใช้วัตถุที่ใหความหวานแทนน้้าตาลได้ตามมาตรฐานอาหาร Joint FAO/WHO, Codex โดยปริมาณที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USDA) อนุญาตให้รับบริโภคได้ตามค่า acceptable daily intake levels (ADI) ซึ่งสารให้ความหวานหรือน้ำตาล เทียมแต่ละชนิดจะมีค่า ADI แตกต่างกัน ดังนี้


- แอสปาร์เทม ค่า ADI เท่ากับ 40-50 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- ซัคคาริน ค่า ADI เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- อะซิซัลเฟมโพแทสเซียม ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- ซูคราโลส เท่ากับ, ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน


ประโยชน์ของน้ำตาลเทียม


1. ลดปริมาณพลังงานในอาหาร เหมาะส้าหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
2. สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือ


โทษของน้ำตาลเทียม


1. โทษของน้ำตาลเทียมแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน หากเป็นซัคคาริน หรือ ขัณฑสกร มีรายงานการวิจัยว่าท้าให้เกิดมะเร็งในหนูเมื่อใช้ในขนาดสูง ควรหลีกเลี่ยง


2. การบริโภคน้ำตาลเทียม ทำให้น้ำหนัก เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนลงพุง โดยมีรายงานการวิจัยแบบ Meta analysis โดยทำการทบทวนงานวิจัยจ้านวน 5 เรื่อง จำนวนตัวอย่างรวม 27,914 คน วิธีการศึกษาแบบไปข้างหน้าจากเหตุไปหาผล (Cohort Studies) โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่บริโภคน้ำเทียมน้อยที่สุด กับกลุ่มคนที่บริโภค น้ำตาลเทียมมากที่สุด พบว่าคนที่บริโภคน้ำตาลเทียมมากที่สุด จะเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องเกี่ยวกับกลุ่ม โรคเมตาบอลิก (อ้วนลงพุง) เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 31 และยังพบว่ากลุ่มที่บริโภคน้ำตาลเทียมมีดัชนีมวลกาย น้ำหนักและเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่ไม่บริโภคน้ำตาลเทียมเลย


3. การบริโภคน้ำตาลเทียมเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้น รายงานการวิจัย แบบ Meta analysis ที่ทบทวนงานวิจัยและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลและ น้ำตาลเทียมกับโรคอ้วน จากงานวิจัยจ้านวน 11 เรื่อง พบว่าการบริโภคเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาล ทำให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่มี 3 ผลการศึกษา เรื่องการบริโภคน้ำอัดลมใส่น้ำตาลเทียมท้าให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วนได้ร้อยละ 59 ซึ่งมีการอภิปรายผลการศึกษาว่า ผู้มีภาวะน้้าหนักเกินและภาวะอ้วนมีพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมมากกว่าผู้มีน้ำหนักตามมาตรฐาน 


เนื่องจากกลุ่มที่ดื่มน้้าอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมนั้น เลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงมากกว่าอย่างมีนัยส้าคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยภาวะอ้วน และน้ำหนักเกินที่ดื่มน้ำอัดลมปกติที่มีน้ำตาล ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมคิดว่าการดื่มน้ำอัดลมที่ไม่มีพลังงาน ท้าให้สามารถบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงกว่าเดิมได้เพิ่มขึ้น และมักจะบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป


4. น้ำตาลเทียมส่งผลต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลิน โดยการบริโภคน้ำตาลเทียมเป็นประจำในปริมาณมากๆ จะส่งผลเช่นเดียวกันกับการบริโภคอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง (glycemic load) ได้แก่ อาหารจ้าพวกคาร์โบไฮเดรต ส่งผลให้เกิดภาวะการย่อยน้ำตาลบกพร่อง (glucose intolerance) และภาวะดื้ออินซูลิน อีกทั้งยังท้าให้การรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย เนื่องจากเกิดความอยากบริโภคอาหารและเครื่องดื่มรสหวาน ท้าให้มีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากปกติ ส่งผลต่อการเกิดโรคเมตาบอลิกและโรคเบาหวานชนิดที่ 2


สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม



ขอบคุณที่มา สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 

ภาพจาก TNN Online / รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ