TNN รู้จัก "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" ปัญหาสำคัญของ "ผู้ป่วยเบาหวาน"

TNN

Health

รู้จัก "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" ปัญหาสำคัญของ "ผู้ป่วยเบาหวาน"

รู้จัก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัญหาสำคัญของ ผู้ป่วยเบาหวาน

หลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน ปัญหาสำคัญของ "ผู้ป่วยเบาหวาน" เปิดวิธีป้องกันโรค อาการแบบไหนควรรีบพบแพทย์

หลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน ปัญหาสำคัญของ "ผู้ป่วยเบาหวาน" เปิดวิธีป้องกันโรค อาการแบบไหนควรรีบพบแพทย์


โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพ และทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมถึงเป็นแผลง่ายหายยาก ชาปลายมือปลายเท้า
          

คำแนะนำในการป้องกันโรคเบาหวาน มีดังนี้ 


1.รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เลี่ยงรสหวาน มัน เค็ม 

2.ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

3.มีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

4.ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 

5.ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม 

6.หากมีอาการของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักลด เป็นแผลง่ายหายยาก หรือชาปลายมือปลายเท้า  ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป นอกจากนี้ ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ควรดูแลใส่ใจเรื่องการควบคุมอาหาร การรับประทานยา การเข้ารับการตรวจตามนัด และสังเกตอาการป่วยที่อาจผิดปกติ


ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน


โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เพราะส่วนใหญ่การดำเนินโรคจะเป็นแบบเรื้อรังค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยขาดความใส่ใจ และกว่าจะรู้ตัวก็อาจเป็นไปมากแล้ว กล่าวคือ มีหลอดเลือดแดงตีบตันเกินกว่า 70-80% ซึ่งทำให้มีอาการปวดขา มีแผลแล้วหายยาก มีเนื้อตายดำๆ ที่เท้าจนอาจต้องถูกตัดเท้าทิ้ง ในบางรายเป็นแบบเฉียบพลันก็ต้องถูกตัดขา กลายเป็นคนพิการ ที่สำคัญคือ ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งมีความเสี่ยงมากถึง 4-5 เท่า และเสี่ยงจากโรคสมองขาดเลือด 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่เป็นโรค


โรคหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจากสาเหตุใด


สาเหตุสำคัญของโรค เป็นผลมาจากมีหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเริ่มจากการมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ต่อมามีกระบวนการอักเสบ เกิดพังผืดและมีแคลเซียมเกาะสะสม หรือมีลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้น จนหลอดเลือดแดงตีบแคบลง ส่งผลให้เลือกไปเลี้ยงที่ขาไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการขาดเลือดเมื่อใช้งานที่ขา


อาการและตำแหน่งที่เป็น


อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งหลอดเลือดที่อุดตัน ซึ่งมีแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น ปวดขา ปวดน่องเวลาเดินหรือออกกำลังกาย ถ้าโรครุนแรงขึ้นจะปวดขามากจนเดินขากะเผลก หรืออยู่เฉยๆ ก็ปวด มีขนร่วง กล้ามเนื้อขาลีบ เล็บแข็ง อาจมีเท้าเย็น มีแผลที่เท้าหรือส้นเท้าที่หายช้า แผลอาจลุกลามจนเกิดเนื้อเน่าตาย หากอาการเป็นแบบเฉียบพลันจะปวดรุนแรง มีนิ้วและเท้าดำเพราะขาดเลือดได้


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง


ปัจจัยเสี่ยงที่เห็นได้ชัดของโรคนี้ ต้องบอกว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ชายและผู้หญิงพอๆ กัน แต่จะพบมากในผู้สูงอายุที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบอยู่ก่อนแล้ว เพราะมีหลอดเลือดแดงผิดปกติแบบเดียวกัน ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ มีดังนี้


-สูบบุหรี่

-เป็นโรคเบาหวาน

-เป็นโรคความดันโลหิตสูง

-มีไขมันในเลือดสูง

-มีระดับสารโฮโมคริสตันในเลือดสูง



ที่มา กรมควบคุมโรค / โรงพยาบาลพญาไท 

ภาพจาก AFP/รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ