เตือน! ลดน้ำหนักแบบ "คีโต" เสี่ยงกล้ามเนื้อล้า-สมองคิดช้า
รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ เตือน! ลดน้ำหนักแบบคีโต เสี่ยงปวดหัว - เหนื่อยล้า สมองคิดช้า
รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ ศัลยแพทย์ด้านศีรษะ คอ เต้านม และรองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เกี่ยวกับคำถามที่ว่า ลดน้ำหนักแบบ “คีโต” ได้ผลไหมและมีโทษไหม โดยระบุข้อความว่า
#ลดน้ำหนักแบบ”คีโต”ได้ผลไหมและมีโทษไหม
-หลายท่านอาจเคยได้ยินวิธีลดน้ำหนักที่บอกว่า กินมันกินเนื้อ(โปรตีน) ได้เต็มที่เลย ไม่ต้องงด แค่งดแป้งอย่างเดียว น้ำหนักจะลง ... วิธีนี้ คนส่วนใหญ่ รู้จัก กันในวิธีการลดน้ำหนักแบบ “คีโต” ....ลองมาดูว่า กลไกของร่างกาย เกิดอะไรขึ้น ในการลดน้ำหนักแบบนี้
-วิธีการคือ การใช้พลังงาน แบบที่ไม่ใช้น้ำตาล โดยอาศัยพลังงานจาก โปรตีน และ ไขมัน วิธีนี้จะมี Ketone เกิดขึ้นในกระบวนการ จึงเรียกวิธีนี้ ในคนไทยว่า คีโต (Ketonesis หรือ Ketogenic diet)..... หลักการ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของ เรื่องที่ผม ได้เล่าไปแล้วในบทความตอนก่อนหน้านี้ครับ .... กลูคากอน จะเป็น พ่อครัว ที่คอยนำอาหารออกจากตู้เย็น (นำไกลโคเจนออกจากตับ) และช่องแช่แข็ง (นำกรดไขมันออกจากเนื้อเยื่อไขมัน) มาเปลี่ยนเป็นพลังงาน ... และ กลูคากอน จะเกรงใจ อินซูลิน ถ้า อินซูลินในร่างกายยังสูงอยู่ จะออกมาน้อย และ จะไม่ไปหยิบ กรดไขมันมาใช้ (ไม่ไปหยิบอาหารจากช่องแช่แข็ง) ใช้แต่พลังงานจากน้ำตาลกลูโคส... การกินอาหารแบบ คีโต ก็คือ การไม่กินอาหารที่เป็นแป้งหรือน้ำตาล เพื่อที่ อินซูลิน จะได้ออกมาน้อยๆ และ เมื่อร่างกายต้องใช้พลังงาน กลูคากอน ก็จะไปหยิบกรดไขมันออกมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน(เมื่อ อินซูลินไม่อยู่ กลูคากอนก็สามารถไปหยิบกรดไขมัน จากช่องแช่แข็งมาใช้) น้ำหนักก็จะลดลง... ฟังดูดีมากใช่ไหมครับ กินเนื้อ กินมันได้ตามที่ใจอยาก แถมลดน้ำหนักได้ด้วย
-ได้ผลครับ แต่มี ข้อแม้ครับ คือ ข้อที่ 1 โปรตีน และ ไขมัน ที่กินเข้าไป ต้องไม่มากเกินไปจนเหลือใช้ เพราะถ้ากินมากเกินกว่าที่ใช้ไป ก็จะถูกนำไปเก็บสะสมอยู่ดี .... และ ข้อที่ 2 ควรต้องมีการออกกำลังกาย เพราะ การออกกำลังกาย กระตุ้นให้ กลูคากอน ออกมาทำงานครับ น้ำหนัก ก็จะลดได้ดี ครับ
-การใช้วิธี คีโต คือ งดแป้ง และ น้ำตาล มีข้อเสียครับ .... เพราะ ถึงแม้ อวัยวะส่วนใหญ่ ของร่างกาย สามารถใช้พลังงาน ได้จากทั้ง กลูโคส และ กรดไขมัน แต่การเปลี่ยนกรดไขมันเป็นพลังงานจากเนื้อเยื่อไขมัน ต้องใช้ ออกซิเจน ดังนั้น การใช้พลังงานจากไขมันจะไม่สามารถดึงพลังงานมาใช้ได้ทันที ไม่เหมือนกับ กลูโคส ซึ่งสลายไกลโคเจนและเปลี่ยนเป็นพลังงานมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน
การใช้พลังงานจากน้ำตาล จะมีข้อได้เปรียบคือ ใช้ง่ายกว่า พร้อมใช้ ใช้ที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องใช้ ออกซิเจน ถ้าเปรียบเทียบ การใช้พลังงานจากน้ำตาลก็จะเหมือน การใช้ไฟ จากแบตเตอรี่ ส่วนการใช้พลังงานจากไขมันต้องต่อกับ ปลั๊กไฟบ้าน (เพราะต้องใช้ ออกซิเจน... ไม่มี ออกซิเจน ก็ไม่สามารถสลายเป็นพลังงานได้) การใช้พลังงานจาก กลูโคส สามารถทำได้แม้ในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เหมือน เก็บพลังงาน ไว้ในแบตเตอรี่ เอามาใช้ก่อน หลังจากนั้น ค่อยไปชาร์ตแบต เอาประจุกลับมา พร้อมใช้... เนื้อเยื่อจึงนิยมใช้ กลูโคส เป็นพลังงานเบื้องต้น แต่ว่า น่าเสียดายที่ พลังงานกลูโคส ที่ถูกเก็บไว้ในรูปของ ไกลโคเจนที่ตับ และกล้ามเนื้อ มีพื้นที่จำกัด มีปริมาณจำกัด ใช้ไปสักพัก ก็จะหมด (เหมือน แบตหมด) ต้องใช้พลังงานจากไขมันต่อ (ต้องเสียบปลั๊ก ใช้ไฟบ้าน)
-คนที่กินอาหารแบบ คีโต ถ้าทำอะไรเร็วๆ ก็จะเหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อล้าเร็วกว่าปกติ เพราะ กล้ามเนื้อตอนเริ่มทำงาน จะใช้ พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจนก่อน ใช้ไกลโคเจนก่อน แต่พอไม่กินน้ำตาล ไม่มีไกลโคเจนสะสมในตับและกล้ามเนื้อ ก็เกิดของเสียในกล้ามเนื้อ เกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่าย
-อีกปัญหาหนึ่ง ของ การกิน คีโต คือ ในสมองของเรา ซึ่งใช้พลังงานค่อนข้างมาก ในการคิดและสั่งการ สมองจะใช้แต่พลังงานจาก กลูโคส เท่านั้น สมองไม่สามารถใช้พลังงานจากไขมันได้ เพราะว่า กรดไขมัน เวลาลำเลียงไปใช้ จะจับคู่กับ โปรตีน แต่ โปรตีนซึ่ง มีโมเลกุลใหญ่ ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มสมองเข้าไปให้พลังงานกับสมองได้ สมองจะใช้พลังงานจากกลูโคสอย่างเดียว... คนกินอาหารคีโต จึงมีข้อจำกัด หากต้องใช้ ความคิด เยอะๆ และ เร็วๆ จะคิดไม่ทัน คิดไม่ออก เพราะ ไม่มี กลูโคสเพียงพอ สำหรับเป็นแหล่งพลังงาน .... ถึงตรงนี้ คงจะพอเข้าใจแล้วนะครับ ว่าทำไม ใน web ถึงมีคนพูดถึงว่า กินคีโตแล้วปวดหัว