คุณแม่เล่าถึง "เอส กันตพงศ์" ก่อนจะหมดสติ มีอาการอย่างไร?
ครอบครัว-หมอแถลง "เอส กันตพงศ์" พ้นวิกฤต คุณแม่เล่าอาการก่อนพระเอกดังจะวูบหมดสติ จนอาการวิกฤต
ครอบครัว-หมอแถลง "เอส กันตพงศ์" พ้นวิกฤต คุณแม่เล่าอาการก่อนพระเอกดังจะวูบหมดสติ จนอาการวิกฤต
จากกรณีพระเอกดัง "เอส กันตพงศ์ บำรุงรักษ์" เกิดอาการวูบและหมดสติระหว่างออกงานอีเวนต์ ขณะนี้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลและอยู่ในห้องผู้ป่วยวิกฤต ล่าสุด คุณแม่ของเอส คือ อชิรญาณ์ ศรีโสม , คริสติน่า ภรรยา , เอ ศุภัยชัย ผู้จัดการส่วนตัว และ นพ. อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ สถาบันโรคหัวใจ ร.พ บำรุงราษฎร์ ได้แถลงถึงอาการของ เอส กันตพงศ์
โดยคุณแม่ อชิรญาณ์ เล่าย้อนไปวันที่ 9 พ.ค.2566 อาการก่อนที่เอส กันตพงศ์จะหมดสติ คือเหมือนกระวนกระวายขยับเสื้อตลอด เหมือนเริ่มจะมีอาการหน้ามืด ก่อนหมดสติเอียงตัวไปทางพิธีกรชายท่านหนึ่ง ไม่ได้ล้มลงกับพื้นเขาช่วยรับไว้ แล้วที่โชคดีคือมีคุณหมออยู่นั่นด้วย ก็ได้ช่วยปั๊มหัวใจอยู่สักพักใหญ่ เห็นคุณหมอบอกว่าตอนเอสหมดสติไป น่าจะหยุดหายใจเลย ก็ปั๊มหัวใจกันไปเรื่อยๆจนถึงห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตำรวจ ปั๊มขึ้นมาได้ 2 นาที แล้วก็หยุดไปอีก แล้วก็ปั๊มขึ้นมาได้สักพักหนึ่ง จนดูว่าอาการน่าจะเข้าที่ หลังจากนั้นก็มีการปฐมพยาบาล จนคิดว่าน่าจะเคลื่อนย้ายมาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ได้ เราก็พามาวันที่ 11 พ.ค.
นพ. อชิรวินทร์ เล่าว่า นับตั้งแต่ย้ายมาโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ทีมแพทย์สถาบันโรคหัวใจและทีมแพทย์เฉพาะทาง จากการวินิฉัยโดยละเอียด สาเหตุที่เป็นไปได้คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ในกรณีของ เอส กันตพงศ์ เป็นขั้นรุนแรง การเต้นของหัวใจผิดจังหวะขั้นรุนแรง ทำให้หัวใจหยุดเต้นไป
ณ ตอนนั้นเอส กันตพงศ์ ถูกใส่เครื่องพยุงชีพ แล้วก็เครื่องช่วยหายใจ ตอนส่งมาผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างมาก แต่หลังจากที่ได้วินิจฉัยที่เป็นไปได้มากที่สุด แล้วเริ่มการรักษาคือให้ยา มีการตอบสนองที่ดีขึ้น ตั้งแต่เริ่มรักษาผู้ป่วยค่อยๆ ลดใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องพยุงชีพได้ การทำงานหัวใจกลับมาใกล้เคียงปกติแต่ต้องอยู่ใสนความใกล้ชิดของแพทย์ ณ ตอนนี้วันนี้การทำงานของไตฟื้นกลับมาได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ มีการหยุดฟอกเลือดไปแล้ว สามารถกลับมาปัสสาวะได้เอง ซึ่งอาการในอนาคตยังตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กันการฟื้นตัวของคนไข้ ณ วันนี้ ตื่นและมีภาวะรับรู้ สามารถสื่อสารง่ายๆได้
แนวทางการรักษาหลักก็คือการกายภาพบำบัดฟื้นฟูเพื่อฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ รวมถึงฟังก์ชั่นทั้งหมดที่มีปัญหาช่วงที่หัวใจหยุดเต้นไปเป็นหลัก ระยะเวลาฟื้นฟูร่างกายขึ้นอยู่กับตัวคนไข้เอง เป็นปัจจัยที่เราสามารถให้คำตอบแบบเจาะจงไม่ได้ ช่วงที่วิกฤตเราดูกันเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง ณ ตอนนี้เราอาจจะสบายใจมากขึ้นประเมินเป็นวันต่อวันว่าผลคนไข้จะดีขึ้นแบบไหน
ขอบคุณภาพ ch7hdและch7hd_dramasociety / True inside