ปลดล็อกเงินทุน นำไทยสู่ New S-Curve หนุนเศรษฐกิจโตก้าวกระโดด
การผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curve เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ต้องอาศัยเครื่องมือและกลไกทางการเงิน แต่ปัจจุบันยังมีข้อจำกัด นักศึกษา วตท. รุ่นที่ 34 ได้ทำการศึกษา “Financing for the New S-Curve” พร้อมเสนอทางออก กุญแจ 11 ดอก ปลดล็อกแหล่งเงินทุนนำไทยก้าวไปสู่ New S-Curve
หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน นักศึกษา (วตท.) รุ่นที่ 34 ได้จัดทำผลงานทางวิชาการ หัวข้อ “Financing for the New S-Curve” โดยได้ฉายภาพประเทศไทยกำลังปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันของโลก อุตสาหกรรม New S-Curve จึงเป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต ซึ่งการผลักดันต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยี บุคลากร เครื่องมือทางการเงิน และกลไกเชิงนโยบายใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรม เพื่อไปสู่เป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืนและก้าวข้าม “กับดักรายได้ปานกลาง”
ปลดล็อกเงินทุน นำไทยสู่ New S-Curve หนุนเศรษฐกิจโตก้าวกระโดดปลดล็อกเงินทุน นำไทยสู่ New S-Curve หนุนเศรษฐกิจโตก้าวกระโดดโดยในมิติ “แหล่งเงินทุน” เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ วตท. รุ่นที่ 34 หยิบยกขึ้นมา ด้วยมองเห็นปัญหาและอุปสรรค กฎหมายและกฎระเบียบไม่เอื้อ และไม่ทันสมัย อาทิ การจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติในอุตสาหกรรมไฮเทค ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่ซ้ำซ้อน ทำให้ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือสตาร์ตอัปเสี่ยงสูง ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ เครื่องมือทางการเงินจำกัด แม้จะมีเครื่องมือ สินเชื่อปกติ กองทุนร่วมลงทุน แต่กลับไม่ตรงตามความต้องการของธุรกิจนวัตกรรมที่ต้องการเงินทุนระยะยาว ความเสี่ยงสูง และขาดหลักประกัน รวมไปถึงบุคลากรภาครัฐขาดทักษะด้านนวัตกรรม การเชื่อมโยงบริการรัฐไม่เป็นระบบ และการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาไม่เพียงพอ
ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล' หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในวตท. รุ่นที่ 34 กล่าวว่า "เราพบว่าปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งติดกับมาโดยตลอด คือกับดักรายได้ปานกลาง คือเราไม่กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสักที ทำยังไงดี คำตอบคือ เราต้องมีอุตสาหกรรมใหม่ หรือว่า New S-Curve แล้วต้องเจริญเติบโต ความยากก็คือว่า เรารู้ว่ามีอุตสาหกรรมใดบ้างที่เป็นอุตสาหกรรมใหม่ แต่จะหาเงินทุนที่ไหนมหาศาลมาสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมเหล่านี้ขึ้น เราก็เลยหาคำตอบครับ ครั้งนี้เราก็เลยได้ผลออกมาอย่างชัดเจน มีประเด็นบางอย่างที่ต้องแก้ไข เหมือนกับตอนนี้ประตูมันปิดอยู่ ถ้าเราปลดล็อกได้ เงินที่เป็นเงินทุนต่างชาติ หรือในประเทศเอง ก็จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิด New S-Curve อย่างเหมาะสม เราพบว่ามีกุญแจทั้งหมด 11 ดอกที่จะต้องหมุน 11 ดอกให้ครบ ถึงจะ New S-Curve ได้"
วตท.รุ่นที่ 34 จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเครื่องมือทางการเงินไว้ ดังนี้
ระยะสั้น ต้องปรับปรุงกระบวนการอนุมัติสินเชื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจเสี่ยงสูง รื้อกฎระเบียบที่ล้าสมัย เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 49 ใน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัต , อุตสาหกรรมดิจิทัล , อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและวัสดุชีวภาพ และ อุตสาหกรรมที่เน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และกำหนดเงื่อนไขการได้รับสิทธิ์ประโยชน์ในการลงทุน และต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทักษะองค์ ความรู้และการจ้างงานให้กับคนไทย ต้องมีแพลตฟอร์ม One Stop Service เพื่อลดขั้นตอนขอรับการสนับสนุน กระตุ้นการจัดสรรเงินอุดหนุนโครงการโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ และการระดมทุน Crowdfunding สำหรับสตาร์ตอัป
ขณะที่ระยะยาว ต้องปรับบทบาทรัฐมุ่งสร้าง “Integrated Government Service” และสนับสนุนหน่วยงานจัดหา เงินทุนที่นำโดยเอกชน การลงทุนในบุคลากรภาครัฐให้เข้าใจเทคโนโลยีเชิงลึก ปรับแนวคิดด้านนวัตกรรม ขยายเครื่องมือทางการเงินสำหรับการลงทุนสีเขียวและการลงทุนระยะยาว เช่น กองทุนด้านการวิจัยและพัฒนา , กองทุน VC Matching , ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน การตั้ง Big Data หรือระบบเครดิตแห่งชาติที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเงินทุนในวงกว้าง ซึ่งหากดำเนินตามข้อเสนอเหล่านี้ได้ ประเทศไทยจะสามารถยกระดับอุตสาหกรรม S-Curve ให้เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน
ข่าวแนะนำ