สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 67 โตร้อยละ 5
ภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตร้อยละ 5 และประมาณการณ์ปี 2568 เติบโตร้อยละ 1-3
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตร้อยละ 5 และประมาณการณ์ปี 2568 เติบโตร้อยละ 1-3 บนปัจจัยเสี่ยง แนะรัฐเอกขนร่วมมืออย่างใกล้ชิด
ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิเผย ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพฤศจิกายน 2567 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 25,608.2ขยายตัวร้อยละ 8.2 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 849,069 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.6 (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 7.0) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,832.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.9 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 867,456.4 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.2 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 ขาดดุลเท่ากับ 224.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลในรูปของเงินบาท 18,378.1 ล้านบาท
ส่วนภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ของปี 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 275,763.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.1 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 9,695,455 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.3 (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม - พฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 4.9) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 282,033.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.7 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 10,032,550 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2567 ขาดดุลเท่ากับ 6,269.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขาดดุลในรูปเงินบาท 337,096 ล้านบาท
ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตร้อยละ 5 และประมาณการณ์ปี 2568 เติบโตร้อยละ 1-3 (ณ มกราคม 2568) โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่
1. Trade War (Trump 2.0) ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าซึ่งอาจส่งผลทั้งด้านบวกและลบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงไทย // มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดึงนักลงทุนกลับประเทศและมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจส่งผลให้เศรษฐกิจอเมริกามีความร้อนแรง มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ
2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เรื่องของการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำซึ่งนำไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารในทะเลจีนใต้ ประกอบกับสถานการณ์สงครามในตะวันออกกลาง และรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
3. ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน
4. ต้นทุนของผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น การปรับขึ้นค่าแรงงาน // ทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกมีความผันผวน
5. ค่าระวางมีการปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1) ผลักดันให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน กระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พณ.) รายไตรมาส เพื่อติดตามสถานการณ์ความผันผวนการค้าระหว่างประเทศ 2) เพิ่มเติมงบประมาณด้านการกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งในประเทศคู่ค้าหลักและตลาดเกิดใหม่ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการค้า รองรับการบิดเบือนตลาดจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐอเมริกา เพื่อบรรลุเป้าหมายส่งออกร้อยละ 2-3 ในปี 2568
ข่าวแนะนำ
-
นโยบายการคลัง "พระเอก" ปี 2568
- 09:50 น.