หนี้ครัวเรือน/จีีพีดีไตรมาส2 ต่ำกว่าร้อยละ90
ธปท.เผยข้อมูลหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีล่าสุด ณ ไตรมาส2 ปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 89.6 ต่ำกว่าร้อยละ 90 เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี โดย สินเชื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์หดตัวมากที่สุด
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่ข้อมูลสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือหนี้สินครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2567 มียอดคงค้าง 16,322,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นชะลอลงอยู่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ไตรมาส 1 ปี 2567 ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 YoY และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) หดตัวลงร้อยละ 0.21
ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 89.6 ถือเป็นระดับต่ำกว่าร้อยละ 90 ครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี หรือตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 ที่อยู่ระด้บร้อยละ 91.2
ทั้งนี้ เมื่อแบ่งตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมพบว่า เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมากที่สุด 12,522,495 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินเชื่อประเภทกู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์มากที่สุดจำนวน 5,572,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) รองลงมาเป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น (รวมบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธปท.) มีจำนวน 4,554,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 YoY ส่วนซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 1,722,399 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.76 YoY และสินเชื่อเพื่อการศึกษามียอดคงค้าง 673,188 ล้านบาท ลดลงร้ยอละ 1.88 YoY
ขณะที่การกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพ 2,878,731 ล้านบาท และเป็นหนี้อื่นๆ ( อาทิ งินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์และเงินให้กู้ยืมที่ไม่สามารถจำแนกวัตถุประสงค์ได้) จำนวน 920,788 ล้านบาท
ข่าวแนะนำ