TNN ปี 67 ทั่วโลกปล่อย “คาร์บอนฯ” สูงทุบสถิติ

TNN

Earth

ปี 67 ทั่วโลกปล่อย “คาร์บอนฯ” สูงทุบสถิติ

ปี 67 ทั่วโลกปล่อย “คาร์บอนฯ” สูงทุบสถิติ

มีรายงานว่าการปล่อย “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2567 นี้


รายงานการตรวจสอบประจำปีของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2024 พบว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนปริมาณมหาศาลมาจากการเผาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ อยู่ที่ประมาณ 37,400 ล้านตันในปี 2567 เพิ่มขึ้น 0.8% จากปี 2566 มีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้นอีก โดยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกพุ่งสูงเรื่อย ๆ ทุกปี ยกเว้น 3 เหตุการณ์ใหญ่ของโลกที่การปล่อยคาร์บอนฯลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือช่วงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต วิกฤตการเงินโลก และช่วงวิกฤตโควิด19 ระบาด


ซึ่งในปีนี้นั้นพบว่าพบว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของจีนนั้นยังสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยปล่อยทั้งหมดประมาณ 12,000 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีนี้ประมาณ 0.2% ซึ่งแม้ว่าจีนจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในการผลิตพลังงานทดแทนในปีนี้ แต่การใช้ถ่านหินก็เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้า ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 ประมาณเกือบ 5 พันล้านตัน แต่ปีนี้ถือว่าปล่อยลดลงจากปีก่อน 0.6% ส่วนอินเดียเพิ่มขึ้น 4.6% เนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ขณะที่ในสหภาพยุโรป ลดลงประมาณ 3.8% ในปีนี้


ดังนั้นจะเห็นว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กิจกรรมของมนุษย์ทั่วโลกก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉลี่ยประมาณ 40,000 ล้านตันต่อปี โดย ยังคงมีการดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศโดยป่าไม้และมหาสมุทร ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็น 20,000 ล้านตัน

ดังนั้น หากปราศจากแหล่งกักเก็บธรรมชาติเหล่านี้ อุณหภูมิในปัจจุบันอาจสูงเกิน 2°C ไปแล้วก็เป็นได้ แต่ที่น่ากังวลคือในปี 2566 ที่ผ่านมา การดูดซับคาร์บอนในดินลดลง 28% จากค่าเฉลี่ยในทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากอุณหภูมิสูงสุดทั่วโลก, ภัยแล้งในป่าแอมะซอน, และไฟป่าที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมทั้งเหตุการณ์เอลนีโญ ดังนั้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป พร้อมกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทรและเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้น ทำให้มีการคาดการร์ว่าว่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพลดลง


จะเห็นว่าแม้จะมีการรณรงค์มากขนาดไหนก็ตาม แต่เรื่องของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังคงเป็นเรื่องยากจริง ๆ สำหรับโลกของเรา ด้านนักวิจัยเตือนว่าหากยังไม่มีการลดการปล่อยก๊าซลงอย่างรวดเร็ว โลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นได้อีกในอนาคต

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง