ทำความรู้จัก “บลูคาร์บอน” แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูง
หลายพื้นที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้มีการเร่งหามาตรการ เพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเอาไว้ หนึ่งในมาตรการที่น่าสนใจ คือ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยมหาสมุทรและทรัพยาการชายฝั่ง หรือ บลูคาร์บอน
สำหรับ “คาร์บอนสีน้ำเงิน” หรือ “บลูคาร์บอน” เป็นคำที่ใช้เรียกคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศ และกักเก็บไว้ในระบบนิเวศของมหาสมุทร และชายฝั่งของโลก มีบทบาทสำคัญในการกักเก็บและกักเก็บคาร์บอนในระยะยาวซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
โดยแหล่งกักเก็บคาร์บอนสีน้ำเงินที่สำคัญ ไก้แก่ หญ้าทะเล ป่าชายเลน และบึงน้ำเค็ม เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนชั้นดี แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าป่าบกบนโลก แต่สามารถกักเก็บคาร์บอนในอัตราที่เร็วกว่าเป็นอย่างมากแลกักเก็บคาร์บอนได้เป็นเวลาหลายร้อยปี
สำหรับศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน ป่าชายเลน สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 226 กรัมคาร์บอนต่อตารางเมตรต่อปี บึงน้ำเค็ม สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 218 กรัมคาร์บอนต่อตารางเมตรต่อปี และหญ้าทะเลสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 138 กรัมคาร์บอนต่อตารางเมตรต่อปี โดยในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ป่าชายเลนสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าเขตร้อนถึง 56 เท่าเลยทีเดียว
สำหรับโลกของเรามี 5 ประเทศที่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนสีน้ำเงินได้มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย เม็กซิโก และซาอุดิอาระเบีย
บลูคาร์บอนไม่เพียงแต่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องพื้นที่ชายฝั่งจากคลื่น และพายุได้ด้วย ดังนั้น การให้ความสำคัญกับบลูคาร์บอนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของโลกเรา
ข่าวแนะนำ