จับตา "ประชุมพลาสติกโลก" ที่ "เกาหลีใต้" ลุ้นทั่วโลกหาข้อตกลง ลดปริมาณการผลิตพลาสติกให้ได้
การประชุม “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” ครั้งที่ 5 เปิดฉากแล้วในวันนี้ ที่เกาหลีใต้ ประธานของการประชุมมั่นใจว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้ เพราะว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมรอบสุดท้ายแล้ว
การเจรจา “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” รอบที่ 5 เปิดฉากแล้วที่เมืองปูซานของเกาหลีใต้ ซึ่งมีตัวแทนจาก 175 ประเทศเข้าร่วมการประชุม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ให่เกิดข้อตกลงสนธิสัญญาพลาสติกโลก เพื่อรับมือกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก
ด้าน นาย “ลูอิส วาลดิวิเอโซ” ประธานคณะกรรมาธิการการเจรจาระหว่างรัฐบาลของสหประชาชาติ หรือ INC ได้กล่าวในการเปิดประชุมว่า การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญมากกว่าการร่างสนธิสัญญา แต่มันคือการทำงานร่วมกันของมนุษยชาติ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยตอนนี้ ขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบนท้องฟ้า หรือใต้ทะเล และหากไม่มีทางแก้ไขที่ชัดเจน ปริมาณพลาสติกจะเพิ่มอีกสองเท่า ภายในปี 2040 ซึ่งแม้ทุกประเทศจะรับรู้ดีว่านี่คือปัญหาใหญ่ แต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
สิ่งหนี่งที่ผู้มาร่วมการประชุมก่อนหน้านี้ ยังตกลงกันไม่ได้คือ การควบคุมปริมาณพลาสติกที่ผลิตในแต่ละปี การแบนสารเคมีที่เป็นอันตรายที่ใช้ในการผลิตพลาสติก และค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา ทำให้การประชุม 4 ครั้งก่อนหน้านี้ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เป็นการประชุมที่ยืดเยื้อ และเต็มไปด้วยการโต้เถียงเกี่ยวกับร่างสนธิสัญญาความยาว 70 หน้าที่ยังตกลงกันไม่ได้ แต่คาดว่าการประชุมครั้งน่ ซึ่งเป็นรอบที่ 5 และเป็นครั้งสุดท้าย จะสามารถตกลงกันได้ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งการประชุมจะจัดจนถึงวันที่ 1 ธันวาคม แต่ผู้สังเกตการณ์ส่วนหนึ่งก็เชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ ยังไม่น่าตกลงกันได้ และอาจต้องขยายการประชุมครั้งที่ 6 ต่อไปอีก
ในบรรดาประเทศที่มาร่วมการประชุม อาจะแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มประเทศที่ต้องการให้แก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างเด็ดขาด เช่น ประเทศในเอเชีย ยุโรป และ แอฟริกา กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการให้แก้ไขปัญหาแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย แล้วก็มีอีกกลุ่มคือประเทศที่ยังรักษาท่าที เช่น สหรัฐฯ และจีน ที่ไม่แสดงออกว่าจะอยู่ฝ่ายไหน ทำให้เป็นเรื่องยากในการเจรจา และผลของการประชุมครั้งนี้ จะออกมาว่าเป็นยังไง ตกลงกันได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับท่าทีประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐฯ กับจีน ว่าจะเลือกอยู่กับกลุ่มไหน
ด้านนอกการประชุม ก็มีนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมกว่า 500 คน มารวมตัวกันและเดินขบวนประท้วง เพื่อกดดันให้ยุติการใช้พลาสติก ซึ่งข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD เปิดเผยว่าทั่วโลกผลิตพลาสติกน้ำหนักรวมกันมากถึง 460 ตัน เมื่อปี 2019 ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าจากปี 2000 และอาจจะเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในปี 2060 และแม้พลาสติกจะถูกนำมารีไซเคิลมากกว่า 90% แต่ก็ยังมีขยะพลาสติกกว่า 20 ตัน ที่หลุดรอดออกมาสู่ธรรมชาติ ซึ่งพลาสติกเป็นสาเหตุการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดโลกร้อน ประมาณ 3%
ข่าวแนะนำ