TNN กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปปริมาณฝนสะสมรายวัน พื้นที่ไหน? "ฝนตกหนัก" มากสุด

TNN

Earth

กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปปริมาณฝนสะสมรายวัน พื้นที่ไหน? "ฝนตกหนัก" มากสุด

กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปปริมาณฝนสะสมรายวัน พื้นที่ไหน? ฝนตกหนัก มากสุด

กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปปริมาณฝนสะสมรายวัน 24 กันยายน – 26 กันยายน 2566 พื้นที่ไหน? ฝนตกหนักมากสุด

กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปปริมาณฝนสะสมรายวัน 24 กันยายน – 26 กันยายน 2566 พื้นที่ไหน? ฝนตกหนักมากสุด


สรุปปริมาณฝนสะสมรายวันที่ผ่านมา (24 กันยายน – 26 กันยายน 2566)

 

วันที่ 24 กันยายน 2566 

ปริมาณฝนสูงสุด(ฝนหนัก) วัดได้ 66.5 มม. ที่ จ.กรุงเทพมหานคร


วันที่ 25 กันยายน 2566 

การกระจายตัวและปริมาณฝนเพิ่มขึ้น

ปริมาณฝนสูงสุด(ฝนหนัก) วัดได้ 86.2 มม. ที่ จ.พังงา


วันที่ 26 กันยายน 2566 

ปริมาณฝนเพิ่มขึ้น

ปริมาณฝนสูงสุด(ฝนหนักมาก) วัดได้ 145.0 มม. ที่ จ.กรุงเทพมหานคร


กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปปริมาณฝนสะสมรายวัน พื้นที่ไหน? ฝนตกหนัก มากสุด


กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 27 กันยายน 2566 - 6 ตุลาคม 2566 อัพเดท 2023092612 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 

27-29 กันยายน 2566 ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำยังปกคลุมบริเวณภาคอีสาน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่าน  ทำให้ยังมีฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง ใกล้บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำและร่องมรสุม  

สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุมที่ทิศทางลมพัดเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ คลื่นลมแรงขึ้น โดยเฉพาะทางด้านทะเลอันดามัน   

ช่วง 30 กันยายน 2566 - 6 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมจะสวิงขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้  ฝนเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุม ฝนยังมีต่อเนื่อง ระวังฝนตกสะสม 

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนของไทยเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)



ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวแนะนำ