TNN โลกร้อนเพิ่มฤทธิ์ยุงลาย ทำไข้เลือดออกระบาดรุนแรงขึ้น

TNN

Earth

โลกร้อนเพิ่มฤทธิ์ยุงลาย ทำไข้เลือดออกระบาดรุนแรงขึ้น

โลกร้อนเพิ่มฤทธิ์ยุงลาย ทำไข้เลือดออกระบาดรุนแรงขึ้น

ภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องและมีผลต่อการเจริญเติบโตของ ยุงลาย ทำให้ปัจจุบันนี้ "ไข้เลือดออก" แพร่ระบาดได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะฤดูฝน

สำหรับยุง หรือ ยุงลาย จะชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ยุงลายมีวงจรชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นโดยปกติยุงจะมีอายุประมาณ 30 วัน แต่จะสามารถอยู่ได้นานถึง 40 วันขึ้นหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตามธรรมชาติของยุง จะออกหากินในช่วงเวลากลางวันที่มีอุณหภูมิสูง แต่พอโลกร้อนขึ้นจะทำให้อุณหภูมิช่วงเวลากลางคืนใกล้เคียงกับตอนกลางวัน ก็จะทำให้ ยุงลาย สามารถออกหากินในเวลากลางคืนได้ด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ อุณหภูมิ ซึ่งมีผลต่อการฟักตัวของยุงลาย สำหรับอุณหภูมิตั้งแต่ 32 องศาขึ้นไป จะทำให้ยุงลายโตเต็มวัยได้ภายใน 1 วัน จากเดิมที่จะต้องใช้เวลาโตเต็มวัย 3-4 วัน จะทำให้ยุงลายสามารถเพิ่มจำนวนการกัดคนได้ 2 เท่า และโดยปกติแล้วการแพร่เชื้อไข้เลือดออกจะเกิดจากยุงตัวเมีย ภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่ออาหารและพัฒนาการของลูกน้ำ ทำให้เกิดยุงลายเพศเมียมากกว่าเพศผู้ โลกร้อนทำให้ระยะการฟักตัวของเชื้อในคนสั้นลง โดยปกติผู้ที่ได้รับเชื้อจะแสดงอากาศประมาณ 10-14 วัน แต่อุณภูมิที่สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้อาการของไข้เลือดออกแสดงอาการได้ภายใน 7 วัน ดังนั้นภาวะโลกร้อนจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของ "ไข้เลือดออก" เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการระบาดมัดจะเกิดในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น เพราะโดปกติยุงลายจะชุมในบริเวณที่มีอาการร้อนชื้นเท่านั้น

ข่าวแนะนำ