พยากรณ์อากาศ 10-19 กันยายน 2566 พื้นที่ไหนฝนตกหนัก-กทม.เจอฝนวันไหนบ้าง?
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 10-19 กันยายน 2566 พื้นที่ไหนมีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก กทม.เจอฝนวันไหนบ้าง?
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 10-19 กันยายน 2566 พื้นที่ไหนมีฝนเพิ่มขึ้น-ฝนตกหนัก กทม.โดนผลกระทบหรือไม่?
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 10 - 19 กันยายน 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
10-14 กันยายน 2566
ฝนยังมีกระจายต่อเนื่อง แต่ปริมาณฝนส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง อาจมีฝนหนักบางแห่งด้านรับมรสุม โดยมรสุมช่วงนี้จะมีกำลังแรงขึ้นบ้าง
ส่วนร่องมรสุมยังคงสวิงขึ้นลงพาดผ่านทางภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน จึงทำให้ยังมีฝนเกิดขึ้นได้บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลาง (รวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล) ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนด้านรับมรสุม คลื่นลมยังมีกำลังปานกลาง ชาวเรือ ชาวประมงต้องเดินเรือด้วยความระวัง
ช่วง 15 -19 กันยายน 2566
ร่องมรสุมจะเลื่อนกลับลงมาพาดภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคอีสาน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักอีกช่วง เตรียมการและเฝ้าระวังฝนตกหนัก
ส่วนสถานการณ์ของพายุหมุนเขตร้อนในระยะยี้ ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัว อาจจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นได้บ้าง แต่ยังไม่แรงถึงระดับพายุ
(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 10-16 กันยายน 2566
ในช่วงวันที่ 11-16 กันยายน 2566 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในวันที่ 10 กันยายน 2566
ในวันที่ 10 กันยายน 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 16 กันยายน 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก AFP