ภาวะโลกร้อนทำไข้เลือดออกระบาดหนัก
อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้นยังส่งผลต่อระบบเผาผลาญของยุงตัวเต็มวัยด้วยคือทำให้ยุงบินมากขึ้นและหิวบ่อย จึงหากินเลือดเหยื่อบ่อยขึ้นเป็นสาเหตุว่าทำไมโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากยุงจึงมีมากขึ้น
นักกีฏวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านแมลง ระบุว่า ปัจจัยโลกร้อนทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดง่ายขึ้น โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเร่งให้ยุงเพิ่มจำนวน โตไวขึ้น รวมทั้งผสมพันธุ์เร็วขึ้น โดยน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ถ้าหากมีอุณหภูมิอุ่นขึ้น เพียงไม่ถึง 1 องศาเซลเซียล ก็มีผลกับลูกน้ำ ที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำ โดยจะทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายของลูกน้ำเกิดขึ้นเร็ว ทำให้พวกมันโตเร็ว โดยยุงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะลูกน้ำ ระยะตัวโม่ง และระยะตัวเต็มวัย สำหรับระยะตัวโม่งของยุงลายบ้าน ปกติจะใช้เวลาในการสร้างปาก ปีก ขา และเปลี่ยนแปลงลำตัว 2-3 วัน แต่ถ้าโลกร้อนขึ้น จะทำให้ระยะเวลานี้หดสั้นลงเหลือเพียง 1-2 วัน เฉลี่ยแล้วประมาณ 1 วันครึ่ง ก็สามารถลอกคราบเป็นตัวยุงได้แล้วนอกจากนี้อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้นยังส่งผลต่อระบบเผาผลาญของยุงตัวเต็มวัยด้วยคือทำให้ยุงบินมากขึ้นและหิวบ่อย จึงหากินเลือดเหยื่อบ่อยขึ้นเป็นสาเหตุว่าทำไมโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากยุงจึงมีมากขึ้น มีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานว่า ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น 30 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และ ไม่ใช่เพียงแต่จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่พื้นที่ที่ไม่เคยพบว่ามีการระบาด ก็มีเพิ่มขึ้น และการระบาดรุนแรงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ไม่เพียงแต่ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น ประเทศอื่นๆก็อาจจะได้รับผลกระทบเช่นกัน โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มจะแพร่ระบาดมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า