ปรากฏการณ์ "พายุสุริยะมนุษย์กินคน" รุนแรงแค่ไหน ส่งผลต่อโลกอย่างไร?
วันพรุ่งนี้ อาจเกิดปรากฏการณ์ "การปะทุของพายุสุริยะ 2 ครั้งซ้อน" แล้วรวมตัวเป็นลูกใหญ่ลูกเดียว มีชื่อเรียกว่า "พายุสุริยะมนุษย์กินคน" จะรุนแรงแค่ไหน ส่งผลต่อโลกอย่างไร?
วันพรุ่งนี้ อาจเกิดปรากฏการณ์ "การปะทุของพายุสุริยะ 2 ครั้งซ้อน" แล้วรวมตัวเป็นลูกใหญ่ลูกเดียว มีชื่อเรียกว่า "พายุสุริยะมนุษย์กินคน" จะรุนแรงแค่ไหน ส่งผลต่อโลกอย่างไร?
ศูนย์พยากรณ์อากาศอวกาศและมหาสมุทรแห่งชาติ หรือ NOAA จำลองการเกิดพายุสุริยะลูกที่ 2 ที่จะมีมวลโคโรนาที่เรียกว่า คานิบาล หรือ มนุษย์กินคน ดีดตัวออกมา และอยู่ในเส้นทางที่จะพุ่งชนโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกขนาดใหญ่บนโลกของเราในวันพรุ่งนี้ ส่งผลต่อสนามแม่เหล็กโลก และอาจทำให้คลื่นวิทยุบางส่วนดับลง รวมถึงจะเกิดปรากฎการณ์แสงออโรร่าเจิดจ้ากว่าปกติที่บริเวณขั้วโลก
โดยพายุสุริยะที่ทำให้เกิดมวลโคโรนามนุษย์กินคน เกิดจากการปะทุซ้อนกันสองครั้งที่ติดกัน ทำให้การปะทุครั้งที่ 2 กลืนกินการปะทุครั้งแรก รวมเป็นพลาสมาเดียวขนาดมหาศาล ที่คาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงที่จะชนโลกในวันพรุ่งนี้
ตามปกติเปลวพายุสุริยะที่พุ่งออกมาจะเป็นแค่ระดับกลางเท่านั้นจะไม่ส่งผลใดๆต่อโลก แต่เมื่อรวมกันทำให้ขนาดและความเร็วกลายเป็นระดับเกือบสูงสุด หรืออาจไปถึงระดับสูงสุดที่เรียกว่า G1 ได้ด้วย
พายุสุริยะมนุษย์กินคนเป็นปรากฏการณ์หายาก เพราะต้องอยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์ มีความเร็วเฉพาะ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 เคยเกิดพายุสุริยะมนุษย์กินคนพุ่งชนโลกมาแล้ว จนเกิดพายุแม่เหล็กโลกลูกแรกของวัฏจักรสุริยะยุคปัจจุบัน ส่วนปี 2565 มีพายุสุริยะมนุษย์กินคนเกิดขึ้น 2 ลูก ในเดือนมีนาคมและเดือนสิงหาคม แต่เป็นพายุแม่เหล็กระดับเล็กน้อยเท่านั้น
พายุสุริยะมนุษย์กินคนมีแนวโน้มเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นในช่วงจุดสูงสุดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของวัฏจักรสุริยะประมาณ 11 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงเวลานี้ จำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์และแสงปะทุจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ไม่เสถียรมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในขั้นต้นนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ดวงอาทิตย์จะเข้าสู่จุดสูงสุดครั้งต่อไปในปี 2568 ซึ่ง Live Science เว็บไซต์ข่าววิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก รายงานว่าจุดสูงสุดของการระเบิดของดวงอาทิตย์อาจมาถึงเร็วกว่านั้น และมีกำลังมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งปรากฏการณ์สุริยะแปลกๆ เช่น พายุสุริยะมนุษย์กินคน เป็นข้อบ่งชี้เพิ่มเติมว่า ค่าจุดสูงสุดของดวงอาทิตย์กำลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว
ปีนี้โลกเจอพายุแม่เหล็กโลกระดับแรงที่สุด และแรงเกือบสูงสุด พัดถล่มไปแล้ว 5 ลูก รวมถึงพายุที่ทรงพลังที่สุดในรอบ 6 ปี มีผลต่อชั้นบรรยากาศนอกสุดของโลก หรือชั้นบรรยากาศเทอร์โมสเฟียร์มีอุณหภูมิสูงสุดในรอบกว่า 20 ปี นอกจากนั้น จุดดับบนดวงอาทิตย์ก็เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 21 ปี เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ภาพจาก รอยเตอร์