สิ่งที่ต้องรู้! ก่อนสมัคร ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายวันละ 3 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร
สิ่งที่ต้องรู้! ก่อนสมัคร ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายวันละ 3 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร
หลักจากที่มีการประกาศเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวนเงิน 5,000 บาทในกลุ่มพื้นที่ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี ที่มีการประกาศยกระดับการควบคุมสถานการณ์โควิด – 19 นั้น
ทำให้กลุ่มฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ต้องรีบเช็ก คุณสมบัติเเละสมัครประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อรอรับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ข้อสำคัญคือ เมื่อสมัครเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 40 แล้ว ต้องจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคม ให้ทันภายในวันที่ 24 สิงหาคม เท่านั้น
สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการสมัครประกันสังคมมาตรา 40
- ต้องเป็นผู้ที่มีอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 เเละ 39 ต้องไม่เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คือบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- สัญชาติไทย หรือ ผู้ที่ไม่มีสัญชาติโดยเลยบัตรประชาชนที่หลักเเรกเป็นเลข 6 หรือ 7
- สามารถสมัครได้หลายช่องทาง เว็บไซต์ www.sso.go.th เเละบิ๊กซี มินิบิ๊กซี ร้านยาเพรียว เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียว ก็สามารถสมัครได้เลย
เลือกความคุ้มครองได้ตามความสมัคร ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/ เดือน เฉลี่ยวันละ 3 บาท รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี ได้เเก่ ประสบอุบัติเหตุ , ทุพพลภาพ เเละเสียชีวิต
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุ , ทุพพลภาพ ,เสียชีวิต และ ชราภาพ (รับบำเหน็จ)
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุ , ทุพพลภาพ ,เสียชีวิต, ชราภาพ (รับบำเหน็จ) เเละ สงเคราะห์บุตร
กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะสามารถใช้สิทธิจากหลักประกับสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
กรณีมีบุตร เเละเลือกทางเลือกที่ 3 สามารถขอรับเงินสงเคราะห์บุตร เเบบเหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 200 บาท ต่อบุตร 1 คน (ตั้งเเต่เกิด จนถึง อายุครบ 6 ปีบริบูรณ์)
กรณีชราภาพ หรือเกษียณอายุ หากเลือกทางเลือกที่ 2 เเละ 3 เอาไว้ เมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไป หากจะเกษียณอายุตัวเอง ก็สามารถเเจ้งเพื่อหยุดการส่งเงินสมทบเเละอขอรับสิทธิประโยชน์เป็นเงินก้อนได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่เราส่งเงินสมทบไปด้วย)
ช่องทางการชำระเงินประกันตนมาตรา 40 สามารถจ่ายผ่านเคาท์เตอร์เซอวิส ที่บิ๊กซี ธนาคารกรุงไทย กรุงศรี หรือสามารถหักบัญชีเงินฝากธนาคารได้เลย
เงินสมทบที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายไปนั้น สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เเละผู้ประกันตนมาตรา 40 จะไม่ถูกตัดสิทธิในการรับเบี้ยผู้สูงอายุอีกด้วย
การรับเงินเยียว 5,000 บาทผ่านทางพร้อมเพย์เท่านั้น ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องทำการสมัครพร้อมเพย์โดยผูกกับเลขบัตรประชาชนก่อน
วิธีการจ่ายเงินสมทบ / สถานที่จ่ายเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
1. จ่ายเป็นเงินสด
2. สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
3. หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
4. เคาน์เตอร์เซอร์วิส
5. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
6. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
7. ห้างเทสโก้โลตัส
8. ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
9. หักผ่านบัญชีธนาคาร
10. ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
11. ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
12. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
13. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
14. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท ในส่วนการชำระผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จะมีค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อครั้ง โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที แต่ผู้ประกันตนต้องนำใบเสร็จรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ออกให้ พร้อมสมุดนำส่งเงินสมทบมาตรา 40 ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการประทับตราในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้ประกอบการยื่นเรื่องเมื่อมีการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ