ผ่อนรถไม่ไหว มีทางออก! กับมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์
มาแล้วอีกหนึ่งช่องทางช่วยลดภาระของลูกหนี้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เปิดลงทะเบียน “มหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์”
ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ และบริษัทลีสซิ่ง 12 แห่ง เปิดลงทะเบียน “มหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์” ช่วยเหลือลูกหนี้เช่าซื้อรถ ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ “มาตรการไกล่เกลี่ยหนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคล”
โดยมีเป้าหมายให้ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่รายได้ลดลงในช่วงโควิด-19 สามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ได้ตามความสามารถ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถนำรถที่ถูกยึดกลับไปใช้ในการประกอบอาชีพ และนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม โดยความช่วยเหลือจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ดังนี้
กลุ่มแรก ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ของ ธปท. ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ
โดยแนวทางใหม่จะคำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก (แนวทางเดิมเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด)
สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม
กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้ งานมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้เช่าซื้อมีโอกาสที่จะนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหนี้กับลูกหนี้เช่าซื้อจะเจรจากันเอง ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทำให้โอกาสที่ลูกหนี้จะได้รถที่ถูกยึดคืนมีไม่มาก แต่ในครั้งนี้หวังว่าลูกหนี้ที่ถูกยึดรถไป ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสที่จะได้รับรถคืนซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาดกรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือ "ติ่งหนี้" ในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ (คลิก Self-Check App ภาระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
วิธีลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์
- เข้าไปที่เว็บไซต์หลัก คือ 1213.or.th
- กรอกชื่อ นามสกุล เลือกรหัสอ้างอิงบุคคล กรอกหมายเลขบัตรประชาชน หรือ เลขหนังสือเดินทาง กดดำเนินการ
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือสำหรับเจ้าหนี้ติดต่อกลับ อีเมล ที่อยู่
- เลือกคำตอบ ช่องทางที่ลูกค้าทราบถึงการไกล่เกลี่ย
- เลือกคำตอบ อาชีพ
- เลือกคำตอบ ผลกระทบ
- กดดำเนินการ
- ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือ
ประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป
ผู้สนใจสามารถ สามารถเข้าร่วมมหกรรมฯ นี้ได้ ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค. 64
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://www.bot.or.th/.../Pre.../Press/2021/Pages/n3764.aspx
หรือสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213
กลุ่มแรก ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ของ ธปท. ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ
โดยแนวทางใหม่จะคำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก (แนวทางเดิมเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด)
สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม
กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้ งานมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้เช่าซื้อมีโอกาสที่จะนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหนี้กับลูกหนี้เช่าซื้อจะเจรจากันเอง ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทำให้โอกาสที่ลูกหนี้จะได้รถที่ถูกยึดคืนมีไม่มาก แต่ในครั้งนี้หวังว่าลูกหนี้ที่ถูกยึดรถไป ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสที่จะได้รับรถคืนซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาดกรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือ "ติ่งหนี้" ในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ (คลิก Self-Check App ภาระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์)