TNN โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ EG.5.1 ในไทยจะระบาด เกิดอาการรุนแรงหรือไม่?

TNN

เกาะติด COVID-19

โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ EG.5.1 ในไทยจะระบาด เกิดอาการรุนแรงหรือไม่?

โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ EG.5.1 ในไทยจะระบาด เกิดอาการรุนแรงหรือไม่?

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดข้อมูลโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ EG.5.1 ในไทยจะระบาด เกิดอาการรุนแรง หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เรื่อง โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) ในไทยจะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

จำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากโควิด-19 ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าส่วนหนึ่งมาจากการระบาดขอโอมิครอน EG.5.1

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีการระบาด โอมิครอน EG.5.1 ไปทั่วโลกเป็นอันดับ 3 ใน 4 อันดับหลักคือ XBB.1.16, XBB.1.5, EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1), และ XBB.1.9.1  

ความชุกของ โอมิครอน EG.5.1 ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันโดยตรวจจากจำนวนรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ปรากฏในฐานข้อมูลโควิดโลก จีเสส (GISAID)ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดคือ

ประเทศจีน 985 ราย หรือประมาณ 7.228% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศจีน

ในอาเซียนสูงสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ 58 ราย หรือประมาณ 1.567% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศสิงคโปร์

ส่วนประเทศไทยพบ 6 ราย หรือประมาณ 0.336% จากโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย

ทั่วโลกพบว่าโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  สูงกว่า XBB.1.16 ประมาณ 42 %

ในประเทศจีนพบว่าโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ประมาณ 45 %

ประเทศสิงคโปร์พบโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ถึง 77 %

สำหรับประเทศไทยโชคดีพบโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 เพียง 1 % ทำให้โอกาสที่โอมิครอน EG.5.1 จะมาแทนที่ XBB.1.16 มีน้อย

ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  

ประเมินจากสองปัจจัยหลักคือ ความสามารถในการติดต่อ (increased transmissibility) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถของส่วนหนามของไวรัสเข้าจับกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ  และความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (evade immunity) 

โดยมีหลายปัจจัยที่ทำให้โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยในแต่ละประเทศมีค่าความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดที่แตกต่างกัน เช่น

- ประเภทของสายพันธุ์ย่อยที่แพร่ระบาดในประเทศนั้นๆ

- อายุเฉลี่ยของประชากร

- อัตราผู้เข้าฉีดวัคซีนครบโดส รวมทั้งการรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

- วินัยของประชาชนในการใส่หน้ากากอนามัย  กินร้อน ช้อนกลาง เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การตรวจ ATK

- ประสิทธิภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขในการเข้าถึงประชากรทุกครัวเรือน

- ฯลฯ

โอมิครอน EG.5.1 แม้จะจะมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้สูงกว่า XBB.1.16 แต่ ความสามารถของส่วนหนามของ EG.5.1 เข้าจับกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้น้อยกว่า XBB.1.16 ทำให้พบว่าโอมิครอน EG.5.1 จากทั่วโลกมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดเฉลี่ยสูงกว่า XBB.1.16 ประมาณ 42 % หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.42-เท่า 

ในขณะที่ประเทศไทยพบโอมิครอน EG.5.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  สูงกว่า XBB.1.16 เพียง 1 % หรือ 1.01 เท่า 

ดังนั้นจึงพอสรุปได้จากรหัสพันธุกรรมของโอมิครอน EG.5.1 ว่าในประเทศไทยการระบาดของ EG.5.1 ไม่น่าจะรุนแรงแตกต่างไปจาก XBB.1.16 อย่างมีนัยสำคัญ 

อย่างไรก็ดีระยะนี้ควรเฝ้าติดตาม โอมิครอน EG.5.1 ของเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เพราะในประเทศสิงคโปร์ที่มีการระบาดของ EG.5.1 มาก และพบมีผู้ติดเชื้อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น

จากรายงานล่าสุด จำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากโควิด-19 ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 ระหว่างวันที่ 23-29 เมษายน มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 568 ราย โดย 15 รายถูกส่งไปยังหอผู้ป่วยหนัก (ICU)  ในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 2 ถึง 29 เมษายน มีผู้ป่วย 47 รายเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู เพิ่มขึ้นจาก 43 รายในช่วงสามเดือนแรกของปี โดยสาธารณสุขสิงคโปร์เชื่อว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นไม่น่าจะเกินจำนวนเตียงที่โรงพยาบาลในสิงคโปร์สามารถรองรับได้


ประเทศ:

จำนวนรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ปรากฏในฐานข้อมูลโควิดโลก จีเสส (GISAID): 

ความชุกของ โอมิครอน EG.5.1ในแต่ละประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา:

จีน

985

7.228%

สหรัฐ

333

1.024%

เกาหลีใต้

303

2.007%

ญี่ปุ่น

175

2.221%

แคนาดา

75

0.551%

โปรตุเกส

64

6.605%

สิงคโปร์

58

1.567%

ออสเตรีย

48

1.357%

ฮ่องกง

41

9.716%

ออสเตรเลีย

30

0.279%

ประเทศอังกฤษ

28

0.365%

ฝรั่งเศส

27

0.341%

สเปน

23

0.333%

อิสราเอล

15

1.873%

สวีเดน

11

0.309%

อิตาลี

10

0.409%

ลาว

10

14.085%

นิวซีแลนด์

8

0.396%

ไต้หวัน

8

2.192%

เยอรมนี

7

0.406%

กัวเตมาลา

7

1.414%

เดนมาร์ก

6

0.681%

ลักเซมเบิร์ก

6

0.758%

ประเทศไทย

6

0.336%





ข้อมูลจาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ 

ภาพจาก TNN ONLINE / AFP

ข่าวแนะนำ