อัปเดต! แนวทางรักษา "โควิด-19" ปรับให้ยาต้านไวรัส-เงื่อนไขให้ LAAB
อัปเดตล่าสุด แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง
อัปเดตล่าสุด แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง
กรมการแพทย์ เปิดแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ
การปรบแนวทางเวชปฏิบัติ ฉบบนี้ มีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ปรับการให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง
2. ปรับเงื่อนไขของการให้ Long-acting Antibody (LAAB)
ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อระบบทางเดนหายใจ คํานยามเป็นผู้ป่วยสงสัยเข้าได้กับ(Suspected case)
1 ผู้ที่มีอาการเข้าได้กับอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก หรือเกณฑ์ทางระบาดวิทยา(ตามประกาศของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค) หรือ
2 ผู้ป่วยที่แพทย์ผู้ป่วยตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผลการตรวจหา SARS-CoV-2
-ตรวจพบเชื้อSARS-CoV-2
ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือ รับไว้ในโรงพยาบาล พิจารณาตามอาการของผู้ปวยโดยคํานึงถึงหลักการป้องกนการแพร่เชื้อตามคําแนะนําที่เกี่ยวข้อง
-กรณีตรวจไม่พบเชื้อSARS-CoV-2
1) พิจารณาดูแลรกษาตามความเหมาะสม
2) ให้ปฏิบัติตาม DMH อย่างเคร่งครัด ประมาณ 5 วัน และให้ระมัดระวังการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
3) ถ้ามีอาการรนแรงให้พิจารณารับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อการตรวจ วินิจฉัย และรกษาตามความเหมาะสม พิจารณาปฏิบัติตาม droplet precautions ระหว่างรอผลการวินิจฉัยสุดท้าย
4) กรณีอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง พิจารณาส่งตรวจ ATK ซ้ำรวมทั้งสาเหตุอื่นตามความเหมาะสม(ตามคํานิยามของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค)
คำนิยามผู้ป่วยสงสัย (Suspected case) ตามการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค
การเฝ้าระวังโรคเฉพาะราย (Case definition for surveillance)
เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical criteria) ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. มีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ดังต่อไปนี้
1) ไข้
2) ไอ
3) มีน้ํามูก/คัดจมูก
4) เจ็บคอ
5) มีเสมหะ
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อ (1) ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ได้แก่
1) ถ่ายเหลว
2) ปวดกล้ามเนื้อ
3) ปวดศีรษะ
4) คลื่นไส้/อาเจียน
5) ท้องเสีย
6) อ่อนเพลีย
7) มีผื่นขึ้น หรือ
3. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1) หอบเหนื่อย
2) หายใจลาบาก
3) มีความผิดปกติของการได้รับกลิ่น/ได้รับรส
4) สับสนหรือระดับความรู้สึกตัวลดลง หรือ
4. มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
1) มีอาการปอดอักเสบ/ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบมีปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุหรือหาสาเหตุไม่ได้ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ
2) มีภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันรุนแรง (acute respiratory distress syndrome: ARDS)
หรือ
5. แพทย์ผู้ตรวจรกษาสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
6. มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย COVID-19
คําแนะนําการให้ยาต้านไวรัส
ให้เลือก 1 ชนิด ตามลําดับคือ nirmatrelvir/ritonavir หรือ remdesivir หรือ molnupiravir หรือ tixagevimab/ cilgavimab (Long-acting Antibody : LAAB) โดยเริ่มพิจารณาให้ยานับจากวันที่เริ่มมีอาการและให้ขนาดยา/จํานวนดังตารางที่ 1
อ่านรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=181&fbclid=IwAR3OMHCnsM_-XTEOPto_GyFrlEx-gUyc6AnllHZU2D143hBMyxulPJnxUfo
ที่มา กรมการแพทย์
ภาพจาก AFP / กรมการแพทย์