TNN เปิดอาการ "ลองโควิด" ที่พบบ่อย ควรทำสิ่งนี้? เพื่อลดความเสี่ยง

TNN

เกาะติด COVID-19

เปิดอาการ "ลองโควิด" ที่พบบ่อย ควรทำสิ่งนี้? เพื่อลดความเสี่ยง

เปิดอาการ ลองโควิด ที่พบบ่อย ควรทำสิ่งนี้? เพื่อลดความเสี่ยง

เปิดข้อมูลพบผู้ป่วย Long COVID สูงถึง 2.2 ล้านคน อาการที่พบบ่อย อ่อนเพลีย-เหนื่อยล้า ย้ำควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นพื่อลดความเสี่ยง

เปิดข้อมูลพบผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) สูงถึง 2.2 ล้านคน อาการที่พบบ่อย อ่อนเพลีย-เหนื่อยล้า ย้ำควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นพื่อลดความเสี่ยง

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า 2 ธันวาคม 2565

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 333,293 คน ตายเพิ่ม 786 คน รวมแล้วติดไป 648,304,681 คน เสียชีวิตรวม 6,641,600 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.47 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 73.4

...อัพเดตสถานการณ์ Long COVID ในสหราชอาณาจักร

ข้อมูลล่าสุดเมื่อคืนนี้ Office of National Statistics ของสหราชอาณาจักรได้เผยแพร่รายงาน Prevalence of ongoing symptoms following coronavirus (COVID-19) infection in the UK: 1 December 2022

สำรวจจนถึง 6 พฤศจิกายน 2565 สหราชอาณาจักรกำลังมีผู้ป่วยที่ประสบปัญหา Long COVID สูงถึง 2.2 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนราว 3.4% ของประชากรทั้งหมด

187,000 คน (9%) ที่เพิ่งติดเชื้อไปน้อยกว่า 3 เดือน

1.9 ล้านคน (87%) ที่ติดเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน

1.2 ล้านคน (55%) ที่ติดเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

และ 594,000 คน (27%) ที่ติดเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี

ในจำนวนผู้ที่ประสบปัญหา Long COVID ทั้งหมด 2.2 ล้านคนนั้น มีถึงกว่าหนึ่งในสาม หรือ 764,000 คน (35%) ที่ติดเชื้อในช่วงสายพันธุ์ Omicron ระบาด

ทั้งนี้ 1.6 ล้านคน (75%) รายงานว่าภาวะ Long COVID ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน 

และมีถึง 370,000 คนที่พบว่าทำให้จำกัดสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก 

อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า ซึ่งมีรายงานสูงถึง 70%

รองลงมาคือ ไม่มีสมาธิ หอบเหนื่อย และปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งแต่ละอาการนั้นพบได้ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย Long COVID ทั้งหมด

ปัญหา Long COVID นั้นพบได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบมากในช่วง 35-69 ปี และเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

...สถานการณ์ของไทยเรานั้น ช่วงสองปีที่ผ่านมามีคนติดเชื้อจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตัวเลขในระบบและนอกระบบ

ข้อมูลวิชาการทั่วโลกยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า Long COVID is real...

ไม่กระจอก ไม่จิ๊บๆ แบบเป็นแป๊บเดียวแล้วหายเหมือนที่เราเห็นข่าวลวงที่เผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ

ขอให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท และพยายามป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ

การติดเชื้อแต่ละครั้งนั้น ไม่ใช่แค่รอลุ้นว่าจะป่วยหนักไหม จะเสียชีวิตไหม แต่ที่ควรตระหนักคือภาวะผิดปกติในระยะยาวที่เกิดกับร่างกายเราในหลากหลายระบบ ซึ่งจะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิต ทั้งทำงาน เรียน หรืออื่นๆ รวมถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว ภาระค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

ณ จุดนี้ เตือนดังๆ ว่าระบาดกันมาก

ระมัดระวังการกินดื่มใกล้ชิดร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน ทั้งระหว่างทำงาน เรียน หรือไปเที่ยว

เลี่ยงสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี

ควรไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อลดโอกาสป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID

สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ตั้งสติกันให้ดี อย่าหลงไปกับข่าวสายพันธุ์ย่อยต่างๆ มากเกินไปจนเบลอ เดลตาครอนหรืออะไรก็ตามแต่ ไม่มีประโยชน์ไปกว่าการทราบข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์ระบาดจริงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที 

ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน "พฤติกรรมป้องกันตัวของเราคืออาวุธที่ดีที่สุด"

ตอนนี้วิกฤติปะทุซ้ำ ไม่ใช่เวฟเล็ก จำเป็นต้องป้องกันตัวเองให้ดี



ข้อมูลจาก รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ