TNN เพจหมอแนะบ้านไหนมีลูก-หลานติดโควิด ควรทำความรู้จัก “ภาวะมิสซี”

TNN

เกาะติด COVID-19

เพจหมอแนะบ้านไหนมีลูก-หลานติดโควิด ควรทำความรู้จัก “ภาวะมิสซี”

เพจหมอแนะบ้านไหนมีลูก-หลานติดโควิด ควรทำความรู้จัก “ภาวะมิสซี”

เพจหมอ Infectious ง่ายนิดเดียว คำแนะนำบ้านไหนมีลูกหลานเคยติดเชื้อโควิด-19ควรทำความรู้จัก “ภาวะมิสซี”

วันนี้ ( 4 พ.ค. 65)เพจหมอ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้ออกคำแนะนำผู้ปกครองควรทำความรู้จัก “ภาวะมิสซี” ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นเด็กโดยมี รายละเอียดดังนี้ “ลูกหลานบ้านไหนมีเยาวรุ่นเคยติดเชื้อโควิดควรศึกษาและรู้จักคำว่า  “…มิส-ซี…”

ช่วงนี้เยาวรุ่นที่แอดมิดในหอผู้ป่วยมิส-ซี เพียบและบางรายสงสัยมิส-ซี เพราะมีไข้ หลังหายจากโควิด ต่อไป แพทย์และผู้ปกครองของเยาวรุ่นต้องมีความรูhเรื่องมิส-ซี เพราะจะมากขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด

การวินิจฉัยไม่ยาก

มิสซี ย่อมาจาก MIS-C = multisystem inflammatory syndrome in children 

คือ กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในเด็ก

ภายหลังหายจากการติดเชื้อโควิด 

มาดูการวินิจฉัยของแพทย์ 

1.เด็กอายุ 0 ถึง ผู้ใหญ่ 21 ปี เคยติดเชื้อโควิด

2.หลังหายแล้ว ประมาณ 2-6 สัปดาห์ หรืออยู่ในระหว่าง 10 วันที่กักตัว กลับมามีอาการไข้สูงใหม่ ไข้เกิน 24 ชม

ร่วมกับ

3.มีอาการที่บ่งว่ามีการอักเสบของอวัยวะ

2 ข้อขึ้นไปดังนี้

_พบบ่อยสุดคือ ถ่ายเหลว ปวดท้อง อาเจียน 

ลำดับถัดมาที่พบคือ 

_ตาแดงทั้ง 2 ข้าง

_ผื่นแดง ขึ้นทั้งตัว

_มือ เท้า บวมแดง

_ลิ้นแดงคล้ายผิวสตอเบอรี่ ริมฝีปากแดง

อาการที่พบบ่อยด้านบน อาการไม่รุนแรง แต่จะมีไข้สูงลอย 

ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบน้อยแต่มีอาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิต ได้แก่ระบบประสาท ชัก หมดสติ ช้อก ตับวาย ไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

4.ผลเลือดบ่งว่ามีการอักอักเสบ

เบื้องต้น ESR CRP proBNP TropI สูง

อื่นๆ d-dimer procalcitonin trigleceride PT PTT INR

lactate 

5.ทุกเคสที่นึกถึง MIS-C ต้องนึกถึงโรคอื่นๆด้วยและให้การรักษาไปด้วยได้แก่ ติดเชื้อแบคทีเรีในกระแสเลือด ควรส่งตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรียในเลือด และให้ยาปฏิชีวนะทุกรายที่สงสัยมิสซี 

6.การรักษามิส-ซี 

_ยาต้านภูมิคุ้มกัน IVIG

_สเตียรอยด์ methylprednisolone

_ยาต้านเกล็ดเลือด ASA

7.การป้องกันไม่ให้เกิดมิสซี ดีสุดคือ ป้องกันติดเชื้อโควิด และรับวัคซีนโควิด 

8.วัคซีนเสริมอื่นๆที่ควรได้รับคือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่

และอื่นๆสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงมีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม ไอพีดี (ไม่ฟรี มีค่าใช้จ่าย) เนื่องจากลดการติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจพบร่วมกับมิสซี และได้ลดการมีไข้จากเชื้อที่ป้องกันได้ 

ใกล้เปิดเทอมแล้ว เยาวรุ่นควรรับวัคซีนดังนี้

_วัคซีนโควิด เมื่ออายุ >5 ปี

_วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เมื่ออายุ > 6 เดือนขึ้นไป (วัคซีนเสริม)

และวัคซีนพื้นฐานตามช่วงวัย ให้ครบ 

_วัคซีนเสริม อีกชนิดคือ ไอพีดีป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (ไม่ฟรี) ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่นโรคปอด เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อเอชไอวี 

ด้วยความปรารถนาดี

Cr Infectious ง่ายนิดเดียว


ข้อมูลจาก :  Infectious ง่ายนิดเดียว

ภาพจาก :  AFP

ข่าวแนะนำ