ศูนย์จีโนมฯเผยโอมิครอน BA.2 หลบภูมิไม่เก่ง ไม่ใช่โควิดตัวสุดท้าย
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยผลทดสอบสายพันธุ์ย่อย ชี้ BA.2 เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่า BA.1 ย้ำโอมิครอนไม่ใช่สายพันธุ์สุดท้ายของโควิด-19
วันนี้ ( 8 ก.พ. 65 )ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการถอดทดสอบทอดรหัสพันธุกรรม โควิด-19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" ขององค์การอนามัยโลก โดยระบุว่า ด็อกเตอร์ เทดรอส เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงว่าขณะนี้ กำลังติดตาม "โอมิครอน" 4 สายพันธุ์ย่อยที่น่ากังวล
มีการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของ
1. BA.1 จำนวน 566,269
2. BA.1.1 จำนวน 271, 584
3. BA.2 จำนวน 35,308
4. BA.3 จำนวน 335
พบว่า BA.2 แพร่ระบาดได้เร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.5 เท่า // BA.2 กลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 85 ตำแหน่ง ในขณะที่ BA.1 กลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 65 ตำแหน่ง ล่าสุด BA.2 ได้จะเข้ามาแทนที่ BA.1 แล้วที่เดนมาร์ก
ตำแหน่งการกลายพันธุ์บนยีน “S” ระหว่าง BA.1 และ BA.1.1 คล้ายกันมาก
ตำแหน่งการกลายพันธุ์บนยีน “S” ระหว่าง BA.2 ต่างจาก BA.1 และ BA.1.1
ตำแหน่งการกลายพันธุ์บนยีน “S” ของ BA.3 ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” น้อยที่สุดในบรรดาโอมิครอนด้วยกัน
BA.2 หลบเลี่ยงภูมิคุ้มได้น้อยกว่า BA.1 และที่สำคัญ "โอมิครอน" ไม่น่าจะเป็นตัวสุดท้าย โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่จะมีอุบัติขึ้นและเข้ามาแทน "โอมิครอน" BA.2 ได้นั้น คาดว่าจะมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” มากกว่า BA.2 คือ (มากกว่า 85 ตำแหน่ง) ส่วนจะก่อให้มีอาการติดเชื้อรุนแรงหรือไม่ ยังไม่อาจคาดคะเนได้
ด้าน "องค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคยุโรป" ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์โอมิครอน กับสายพันธุ์ย่อย BA.2 พร้อมทวงถามแผนการรับมือว่าเพียงพอหรือยัง เพราะสายพันธุ์นี้อาจเป็นปัญหาใหญ่เกินกว่ารับมือ
ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ถูกพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ที่แล้ว และยังคงเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดหนักในหลายประเทศ ท่ามกลางความกังวลต่อสายพันธุ์ย่อย BA.2 อาจทำให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานว่า BA.2 ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในบางประเทศ ทั้งเดนมาร์ก อังกฤษ อินเดีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการกลายพันธุ์แล้วกว่า 27 ชนิด และสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้พบในสายพันธุ์ BA.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั่งเดิม
ด็อกเตอร์ โดลิต นิตซาน ผู้อำนวยการแผนกฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคยุโรป ตั้งคำถามว่า แผนการรับมือในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ เพราะสายพันธุ์ดังกล่าวกำลังเป็นภัยคุกคามโลกที่แท้จริง
พบว่า อัตราผู้ติดเชื้อสูงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั้งในเดนมาร์ก และอังกฤษได้ทำการศึกษาพบว่า เชื้อดังกล่าวแพร่กระจายได้มากกว่าสายพันธุ์ BA.1 อยู่ที่ 30-34% และมีแนวโน้มที่ BA.2 จะระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในโลก เช่นเดียวกับที่เราเห็นในเดนมาร์กและอังกฤษ
ผู้อำนวยการแผนกฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคยุโรป ขอให้ทุกประเทศเฝ้าติดตามยอดผู้ติดเชื้อในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ดูเหมือนว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั่งเดิม จะไม่เสี่ยงกับการติดเชื้อซ้ำ แม้ว่าจะยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนก็ตาม
สิ่งที่สายพันธุ์ BA.1 กับ BA.2 เหมือนกันก็คือ สามารถแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว "ถ้าคุณอยู่ในห้องที่มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน คุณจะรับเชื้อทันที่คุณถอดหน้ากากเพื่อดื่ม และรับประทานอาหาร" อย่างที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจนในเดนมาร์ก
ส่วนระยะเวลาการฟักเชื้อ หรือช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อไวรัสกับแสดงอาการป่วย ในบางผลการศึกษาพบว่า ระยะฟักเชื้อ BA.2 สั้นกว่า BA.1 เพียง 2-3 วัน หลังจากได้รับเชื้อ บางรายงานพบว่า ระยะฟักเชื้อนานถึง 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ยังไม่อาจสรุประยะเวลาฟักเชื้อได้อย่างแม่นยำ สำหรับบางประเทศ เช่น อังกฤษและเดนมาร์ก ต่างก็มีผู้ติดสายพันธุ์นี้จำนวนมาก และส่วนใหญ่ก็ไม่อาจสามารถสืบย้อนเส้นทางการติดเชื้อได้
นอกจากนี้ สิ่งที่จะเห็นในยุโรปคือ การกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์ย่อยจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอีก แต่ในขณะนี้เรายังไม่มีวัคซีนโควิด-19 ที่มีขึ้นเฉพาะป้องกันโอมิครอน
ผู้อำนวยการแผนกฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคยุโรป ชี้ว่า สายพันธุ์โอมิครอนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สิ่งสำคัญคือ การอนุญาตและรับรองวัคซีน เพื่อให้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ทั่วโลก
ภาพจาก : AFP