TNN เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

TNN

คอลัมนิสต์

เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน


นอกจากการพัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรม EVs ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ที่ทำให้จีนรุดหน้าไปในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ แล้ว เรายังเห็นตัวอย่างการพัฒนาตามหัวเมืองต่างๆ ของจีนมากมายหนึ่งในนั้นได้แก่ มณฑลเสฉวน …


เมื่อกล่าวถึงเสฉวน หลายคนอาจนึกถึงหมีแพนด้า สุกี้ม๋าล่า และการเปลี่ยนหน้ากากที่รวดเร็วปานกระพริบตาอันเลื่องชื่อ รวมทั้งธรรมชาติที่สวยสดงดงาม

เสฉวนนับเป็นมณฑลใหญ่ในภูมิภาคตะวันตกของจีน มีนครเฉิงตูเป็นเมืองเอก และปัจจุบันมีจำนวนประชากรราว 85 ล้านคน มากกว่าจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศเสียอีก

ภายหลังการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เสฉวนจึงก้าวขึ้นเป็นมณฑลต้นแบบการพัฒนาและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน ลอจิสติกส์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ในปี 2022 เสฉวนมีจีดีพีราว 840,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใหญ่กว่าของประเทศไทยราวครึ่งช่วงตัว และตั้งเป้าจะเติบโต 6% มากกว่าเป้าหมายเฉลี่ยของจีนโดยรวม

ด้วยการสนับสนุนจากนโยบายสำคัญ อาทิ ข้อริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (BRI) และแถบ เศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Economic Belt) ที่เชื่อมโยงมณฑลเสฉวนเข้ากับมหานครฉงชิ่งเป็น “เศรษฐกิจไข่แดงแฝด” ที่เป็นแกนหลักในการพัฒนาพื้นที่ด้านซีกตะวันตกของจีนสู่ยุคหน้า

นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวยังส่งผลให้เสฉวนเชื่อมกับโลกภายนอกในเชิงรุก และกลายเป็นพี้นที่หลักรองรับการลงทุนของกิจการจีนและต่างชาติที่มีศักยภาพอันดับต้นๆ ในด้านซีกตะวันตกของจีนทั้งนี้ ในบรรดาลิสต์ฟอร์จูน 500 มีกิจการถึง 315 บริษัทที่เข้าไปลงทุนในเสฉวนแล้ว


เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภาพจาก reuters


เสฉวนยังเต็มไปด้วยมหาวิทยาลัยและสถาบันที่มีชื่อเสียง อาทิ University of Electronic Science and Technology of China และ Sichuan University ทำให้เสฉวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนครเฉิงตู กลายเป็น “คลัสเตอร์” อุตสาหกรรมเฉพาะทางที่มีประสิทธิภาพ แข็งแกร่ง และยืดหยุ่นมากขึ้น และช่วยดึงดูดกิจการที่เกี่ยวข้องเข้าสู่พื้นที่เป็นจำนวนมาก 

เฉิงตูได้ก้าวขึ้นเป็น “แหล่งผลิต” สำคัญของจีนที่อยู่ในระดับโลก โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา “Made in Chengdu” (สินค้าที่ผลิตในเฉิงตู) ยังได้รับการยอมรับในแง่ของ “ความยอดเยี่ยม” ที่มีพื้นฐานจากการปฏิวัติเทคโนโลยีและการปรับโครงสร้างด้านการผลิต รวมทั้งพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่เข้มแข็งและระบบนิเวศด้านการผลิตที่น่าตื่นตาตื่นใจ

ปัจจุบัน เฉิงตูเป็นฐานการผลิตสินค้านวัตกรรมมากมาย ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านอาจคาดไม่ถึงว่าสินค้าจำนวนมากที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ถูกผลิตขึ้นในมณฑลเสฉวนแห่งนี้ 

จอสกรีนรุ่นพับได้ในสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ของท่านก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นหลักในด้านนี้ก็ได้แก่ BOE แห่งเฉิงตู


เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภาพจาก reuters


ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนหลายแสนล้านหยวนจนสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในจีน โดยโดดเด่นและก้าวล้ำในการผลิต LED เจนที่ 6 นับแต่ปี 2017 และยังซัพพลายสินค้าให้แก่แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทริกส์ชั้นนำของโลกมากมาย 

นอกจากนี้ เมื่อเดือนตุลาคม 2022BOE ยังได้เปิดตัวสายการผลิตจอ LED แบบพับได้ที่มีความยืดหยุ่นสูงต่อความต้องการของผู้ผลิตยานยนต์โดยในโครงการนี้ บริษัทฯ ได้ทุ่มทุนกับการวิจัย การออกแบบ การผลิต และการขายจอสกรีนที่มีขนาดระหว่าง 5-48 นิ้ว และคาดว่าจะสามารถซัพพลายสินค้าให้ผู้ผลิตยานยนต์ได้ราว 15 ล้านจอต่อปี

ส่งผลให้เฉิงตูได้รับการคาดหมายว่าจะก้าวขึ้นเป็นฐานการผลิตจอสกรีนสำหรับยานยนต์คุณภาพสูงที่เบ็ดเสร็จและใหญ่ที่สุด รวมทั้งยังจะขยายสายผลิตภัณฑ์นี้ให้ครอบคลุมในทุกตลาดยานยนต์

ขณะเดียวกัน ผลจากการพัฒนาระบบนิเวศมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เฉิงตูมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรมการผลิตแผงวงจรรวมที่ยอดเยี่ยม และกำลังรุดหน้าไปสู่ระดับโลก


เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภาพจาก reuters


ปัจจุบัน เฉิงตูมีผู้ผลิตแผงวงจรรวมทั้งของจีนและต่างประเทศมากกว่า 270 บริษัท อาทิ Intel, Texas Instruments, Chengdu Higon และ H3C

รวมทั้งกลุ่มกิจการหลัก เช่น Ganide Technology และChengdu Sino Microelectronics Technology (CSMT) ซึ่งก่อให้เกิดระบบการผลิตในการออกแบบวงจรรวม การผลิตเวเฟอร์ บรรจุภัณฑ์ และการทดสอบที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

โปรเจ๊กเตอร์อัจฉริยะ (Smart Projector)ก็เป็นอีกสินค้ายอดนิยมหนึ่งของเฉิงตู งานวิจัยของ International Data Corp ระบุว่า ในปี 2022ตลาดโปรเจ๊กเตอร์ในจีนมีจำนวนกว่า 5 ล้านเครื่อง โดยหนึ่งในผู้เล่นหลักก็ได้แก่ Xgimi Technology ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2013


เมื่อมังกรปรับจูนสู่โรงงานของโลกยุคใหม่ (ตอน 8) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภาพจาก reuters


ในอดีต ตลาดสินค้านี้ของจีนถูกผูกขาดโดยแบรนด์ต่างชาติ แต่ด้วยปัจจัยเชิงบวกของเฉิงตู ก็ทำให้ผู้ประกอบการที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่สามารถผลิตสินค้าที่ล้ำสมัยและต่อยอดธุรกิจได้อย่างรวดเร็วจนแทบไร้ขีดจำกัด 

Xgimi Technology สามารถก้าวขึ้นมาสร้างชื่อในการพัฒนาโปรเจ็กเตอร์รุ่นใหม่ได้ในวงกว้างเมื่อปี 2018โดยหลังจากนั้น บริษัทฯ ก็ได้กลายแชมป์ผู้ผลิตอันดับหนึ่งเป็นเวลา 5 ปีต่อเนื่อง 

ปัจจัยสนับสนุนสำคัญหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือ นโยบายของรัฐบาลท้องถิ่นที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจ อาทิ การวิจัยและพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการดึงดูดแรงงานคุณภาพและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง 

และหลังจากการพัฒนาตลาดครัวเรือนเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ซีรีย์ “อะลาดิน” (Aladdin) ที่โดนใจผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ก็ทำให้บริษัทฯ ก้าวขึ้นคว้าแชมป์ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายโปรเจ็กเตอร์ 3 ปีต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนตลาดถึงกว่า 30% ของการผลิตโดยรวม

แม้กระทั่ง ในตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ ก็ส่งผลิตภัณฑ์ออกไปตีตลาดมากกว่า 100 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งรวมทั้งสหรัฐฯ แคนาดา และญี่ปุ่น 

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ โป๋ว จง (BoZhong) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Xgimi Technology ก็เป็นผลผลิตของ University of Electronic Science and Technology of China อีกด้วย

เฉิงตูยังมีสินค้านวัตกรรมดีๆ อีกมาก แต่ผมยกยอดไปคุยกันต่อในตอนหน้าครับ ...



ภาพจาก reuters / AFP

ข่าวแนะนำ