TNN 3 อาชีพ สู้หน้าฝน | เรื่องดีดีทั่วไทย

TNN

รายการ TNN

3 อาชีพ สู้หน้าฝน | เรื่องดีดีทั่วไทย

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ เราไปดูกันว่า อานิสงส์จากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในหลายพื้นที่ ประชาชนแต่ละจังหวัดเขามีวิธีการปรับตัวสู้

เริ่มต้นพามายังป่าชุมชนท้ายบ้านตลิ่งชันตำบลจรเข้หิน ชาวบ้านก็ต่างพากันนำตะกร้า และอุปกรณ์ออกมาตระเวนเก็บเห็ดที่ขึ้นอยู่ในป่าจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเห็ดจำพวก เห็ดไคร และเห็ดก่อแดง 


นายเรวัตร เพ็ชรในเมือง ชาวบ้านในพื้นที่ เล่าว่าหน้าฝนปีนี้ถือว่ามีฝนตกน้อยและทิ้งช่วงหลายครั้ง ทำให้เห็ดป่าออกน้อยกว่าในทุกๆ ปี แต่มาช่วงนี้มีพายุเข้ามาทำให้ฝนตกต่อเนื่อง เห็ดที่เหมือนว่าจะคอยเวลาอยู่ ก็ทยอยพากันงอกออกมาเต็มป่า ชาวบ้านต่างก็พากันออกมาหาเก็บไปประกอบอาหาร บางคนมีความชำนาญรู้แหล่งรู้ป่าว่าตรงไหนที่เห็ดจะขึ้นมาก ก็จะหาได้มากเป็นพิเศษ วันละหลายกิโลกรัม หากนำไปขายก็จะได้ราคาดี 


ส่วนราคา หากเป็นเห็ดรวมหลายๆชนิด และเห็ดบาน จะขายได้ราคากิโลกรัมละ 150 บาท //ส่วนดอกตูมที่-งอกใหม่ๆราคาจะสูงถึงกิโลกรัมละ 300 บาท สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในช่วงหน้าฝนได้เป็นอย่างดี 


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ไปต่อกันที่ จ.สุรินทร์ ชาวบ้าน ในเขตพื้นที่ อ.ศีขรภูมิและสำโรงทาบ ได้รับอานิสงค์จากพายุ"ซูลิก" แม้ในพื้นที่น้ำจะยังไม่ท่วม แต่ชาวบ้าน บ้านเขนก (อ่านว่า ขะ-เนก) ต.หนองขวาว (อ่านว่า หนอง-ขะ-ว๋าว) อ.ศีขรภูมิ 

จ.สุรินทร์ ต่างก็ได้นำแหและอวนเล็กมาลากหาจับปลาในบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยลำพอกกันอย่างคึกคัก 


นายเบี้ยว สมสิทธิ ชาวบ้านวัย 60 ปี หนึ่งในผู้ที่ออกมาหาปลา เล่าว่าตนพาภรรยามาจับปลาเพื่อที่จะได้นำปลาไปประกอบอาหารทานในครอบครัว หากวันไหนได้มากก็จะแบ่งขายให้กับชาวบ้าน ทำให้มีรายได้วันละ 200 ถึง 300 บาท เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ไปพร้อมๆกัน                                  


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ที่ จ.สกลนคร ชาวบ้าน "บ้านดอนตาลโง๊ะ" ต.ฮางโฮง อ.เมือง จ.สกลนคร หลายครอบครัวยึดอาชีพทำปลาย่างรมควัน ออกขายจนเป็นอาชีพหลักในช่วงฤดูน้ำหลาก เนื่องจากได้รับกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซากจากน้ำในหนองหารที่ล้นตลิ่งเป็นประจำทุกปีทำให้ไม่สามารถทำนาปีได้                              


"นางไพรัช ดวงคุณ" เล่าว่า ยึดอาชีพนี้มากว่า10 ปี //โดยจะรับซื้อปลาจากชาวบ้านในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นปลาเนื้ออ่อน //ปลากด และปลาช่อน //เมื่อได้ปลามาทำความสะอาด ขอดเกล็ด ล้างเมือก ควักไส้ แล้วนำไปเสียบไม้ ตากแดดพอหมาดๆ ก่อนนำไปย่างด้วยไฟอ่อนๆ จากกาบมะพร้าว กลับพลิกปลาไป-มาจนสุกเหลืองทั้ง 2 ด้าน จึงนำปลาที่สุกไปรมควัน ย่างไฟอ่อนๆ 4-8 ชั่วโมง


นางไพรัช ยังบอกอีกว่า ปัจจุบันปลาในหนองหารเริ่มหายากขึ้น ประกอบกับมีราคาสูงขึ้น หลายครอบครัวต้องหยุดทำปลาย่างรมควัน ทั้งหมู่บ้านมีประมาณ 4-5 รายเท่านั้น ซึ่งตนยังคงทำอาชีพนี้ต่อไป 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง